เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Two-Word Verb of Separable and Inseparable

นักศึกษาที่รักทั้งหลายครับ….เราได้เรียนมาแล้วในตอนแรกว่า ถ้านำบุรพบทไปต่อท้ายคำกริยาแล้วทำให้บุรพบทกับคำกริยาตัวนั้นมีความหมายคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลงบ้าง หรือทำให้มีความหมายผิดไปจากเดิมบ้างอะไรทำนองนี้ มาบัดนี้เราจะพูดถึงเรื่อง การนำเอา Adverbial Particle (แท้ที่จริงก็คือการนำเอาบุรพบทนั้นเอง) ไปต่อท้ายกริยา หรือใช้คู่กับกริบยา ซึ่งเรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่า Two-word verbs (กริยาคู่ หรือ Phrasal Verb หรือ Verb ที่เป็นวลี) ปัญหายุ่งยากต่อไปก็คือว่า เมื่อนำเอาบุรพบทไปใช้คู่หรือต่อท้ายคำกริยาแล้วหากกริยานั้นมีกรรมมารับ จะวางกรรมไว้ตรงไหน ไว้ระหว่างกริยากักบุรพบทกระนั้นหรือ หรือว่าไว้หลังบุรพบทตลอดไป นี้คือข้อสับสนที่มักจะเกิดขึ้นกับนักศึกษาเสมอ เพื่อความเข้าใจง่ายผู้เขียนจะได้แยกให้เห็นเป็น 2 ชนิดดังนี้ครับ

(1) ชนิดที่แยกก็ได้ไม่แยกก็ได้เมื่อมีกรรมมารับ (Two-Word Verb of Separable when followed by object)

(2) ชนิดที่แยกไม่ได้เด็ดขาด ไม่ว่าจะมีกรรมมารับหรือไม่ก็ตาม (Two-Word Verb of Inseparable when followed by object or no)

1.1 ชนิดที่แยกก็ได้ไม่แยกก็ได้ ได้แก่ Two-Word Verb ต่อไปนี้คือ

Bring about
ทำให้เกิด, ก่อเหตุ
Figure out
 คะเน,
ประมาณ
Bring up
สั่งสอน, แนะนำ
Fill out
กรอกรายการ
Blow up
ระเบิดออกมา
Find out
สำรวจ, ไม่พบ
Burn down
ไหม้เป็นจุล
Have on
สวม, มีติดตัว
Call off
เลิก, บอกเลิก
Hold off
ขัดขวาง
Call up
โทรศัพท์ไปหา
Leave out
ข้ามไป, ยกเว้น
Carry on
ดำเนิน, ทำต่อไป
Look over
ตรวจสอบ
Carry out
บริหาร, ดำเนินการ
Look up
ค้นหา
Cross out
ตัดทิ้ง, ยกเลิก
Make up
ปั้นเรื่อง, แต่ง
Do over
ทำอีก, แต่งใหม่
Make over
ทำให้เป็นเรื่องใหญ่
Pick out
เลือก, คัด
Pick up
เก็บขึ้นมา
Point out
ชี้แจง
Turn off
ปิด (น้ำ, ไฟ, วิทยุ)
Put off
เลื่อนไป
Think over
พิจารณา
Put out
ดัน, ไล่ออก
Try on
ทดสอบ
Take up
ยึดครอง, รับทำ
Try out
ตรวจ, ทดสอบ
Talk over
ปรึกษาหารือ
Turn on
เปิด (น้ำ, ไฟ, วิทยุ)
Wear out
ชำรุดจนใช้ไม่ได้

ข้อสังเกต :
a) ถ้าตัวกรรมนั้นเป็นคำนาม (ไม่ใช่สรรพนาม) แยกก็ได้ไม่แยกก็ได้ เช่น

แยกก็ได้ : They’ve called the
game off.
ไม่แยก : They’ve called off the
game.

พวกเขาได้เลิกเล่นกีฬาแล้ว

แยกก็ได้ : I called Mary up
yesterday.
ไม่แยก : I called up Marry
yesterday.

ผมโทรศัพท์ไปหาแมรี่เมื่อวานนี้

แยกก็ได้ : He looked the meaning
of this word up.
ไม่แยก He looked up the meaning
of this word.

เขาค้นดูความหมายของคำนี้

b) ถ้าตัวกรรมนั้นเป็นบุรุษสรรพนาม (Personal Pronoun) ไม่ใช่คำนาม จะต้องแยก Adverbial Particle ไปเรียงหลังกรรม คือ สรรพนามนั้นตลอดไป ห้ามวางไว้หน้าสรรพามโดยเด็ดขาด เช่น

ถูก : I called them up (อย่าใช้ : I called up them.)

ผมโทรศัพท์สั่งพวกเข้าแล้ว

ถูก : She picked it out (อย่าใช้ : She picked out it.)

หล่อนคัดเลือกเอาแล้ว

ถูก : Can you bring it out ? (อย่าใช้ : Can you bring out it?)

คุณเอาออกมาแสดงให้ดูได้ไหม?

2.2) ชนิดที่แยกไม่ได้โดยเด็ดขาด แม้จะมีกรรมตามหลังหรือไม่ก็ตาม ได้แก่ Two-Word Verb ต่อไปนี้

Bear on
เกี่ยวข้อง, ว่าด้วย
Hear of
ได้ยินพูดถึง, รู้เรื่อง
Break in
ขัดจังหวะ, ฝึกฝน
Hit on
ค้นพบโดยบังเอิญ
Break into
บุกรุก, โจรกรรม
Keep to
ดำเนินต่อไปตามวิถีทาง
Call for
เรียกหา, ไปรับ
Live on
เลี้ยงชีวิตด้วย
Call on (บุคคล)
ไปเยี่ยม, แวะเยี่ยม
Look after
ดูแล, เฝ้า
Call at (สถานที่)
ไปเยี่ยม, หยุด
Look for
หา, ค้นหา
Care for
สนใจ, เอาใจใส่
Look into
สอบสวนอย่างละเอียด
Come across
พบโดยบังเอิญ
Look across
โดยบังเอิญ
Count on
พึ่งพาอาศัย, เชื่อมั่น
Run against
พบ, ติดต่อกับ
Do without
ทำต่อไปโดยปราศจาก
Run after
วิ่งไล่ตาม
Figure on
คาดหวัง
Run over
ทับ, ทบทวน
Get off
ลงจากรถ, ขึ้นจากเรือ
See about
ดูแล, เอาใจใส่
Get on
ขึ้นรถ, ลงเรือ
See to
รับเอาเป้นภาระ
Get over
หายจากป่วยไข้ หมด
Settle on
เห็นชอบด้วย
Get around
ไปไหนมา, หลีกเลี่ยง
Stand for
ไปแทน, ใช้แทน
Go over
ทบทวน, ทำซ้ำ
Stick to
อดทน, ยึดมั่น
Go with
ไปด้วยกัน, ร่วมกับ
Disagree with
ไม่เห็นด้วยกับ
Go without
ขาดไป, ปราศจาก
Run into
ชน, ปะทะกัน

ถูก : The burglar broke into her house last night.

(ผิด : The burglar broke her house into last night.)

ขโมยบุกเข้าไปงัดแงะในบ้านของหล่อนเมื่อคืนนี้

ถูก : They get on the bus in front of the school.

(ผิด : They get the bus on in front of the school.)

พวกเขาขึ้นรถประจำทางที่หน้าโรงเรียน

ถูก : I came across an interesting book today.

(ผิด : I come an interesting book across today.)

ผมพบหนังสือที่น่าสนใจโดยบังเอิญแท้ๆวันนี้

ถูก : His car ran into mine this morning.

(ผิด : His car ran mine into this morning.)

รถยนต์ของเขาชนรถฉันเมื่อเช้านี้