เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Pronunciation ตอนที่ 2 (ตอนจบ)

การออกเสียงพยัญชนะบางตัวในคำอ่าน

มีพยัญชนะบางตัวในภาษาอังกฤษซึ่งเมื่อนำมาผสมเป็นคำอ่านแล้ว จะออกเสียนงผิดไปจากความหมายของพยัญชนะตัวนั้นๆ ซึ่งรายละเอียดมีอย่างไร ขอได้โปรดติดตาม..

พยัญชนะ C :

C จะออกเสียงเป็น k (คือเท่ากับ “ค”) ในกรณีที่

1)เมื่อ c ตามด้วยสระ a, o, u เช่น
call (คอล), cold (โคลด), cut (คัท)
can (แคน), could (คู๊ด), coin (คอย)

2)เมื่อ c ทำหน้าที่เป็นตัวสะกด เช่น :

Olympic (โอลิมปิค), picnic (ปิกนิค)
act (แอ็ค), nick (รอยบิ่น, เวลาขณะหนึ่ง)

C จะออกเสียงเป็น s (คือเท่ากับ “ส”) เมื่อตามด้วยสระ e, I, y เช่น

per cent (เปอร์เซ็นต์), accident (แอ็คซิเด้นท์)
city (ซิทที) cypress (ไซเพรส), cycle (ไซคึล)

CC จะออกเสียงเป็น k (เท่ากับ “ค”) เมื่อตามด้วยสระ a, o เช่น

Account
(แอ็คเค้าท์)
Accord
(แอ็คเคิด)
Acclaim
(แอ็คเคลม)
Accomplice
(แอ็คคอมพลีซ)

หรือออกเสียงเป็น ks (คซ) เมื่อตามด้วย e, i เช่น :

Accent
(แอ็คเซ้นท์)
Vaccine
 (แว็คซีน)

พยัญชนะ ch

ch โดยปกติจะออกเสียง “ช” เสมอ เช่น

chair (แชร์) cheap (ชีพ)

แต่ ch จะออกเสียงเท่ากับ k (ค) เมื่อคำนั้นมาจากภาษากรีก ได้แก่คำต่อไปนี้

Echo
เอคโค้
เสียงก้อง
Ache
เอ๊ค
ความเจ็บปวด
Epoch
อีพ๊อค
สมัย
Choir
ควาเออะ
กลุ่มนักร้อง
Chaos
เคอ็อส
ความวุ่นวาย
Christ
ไคร้สท์
พระเยซู
Chemist
เคมิส
เภสัชกร
Anchor
แอนคอร์
สมอเรือ
Stomach
สโทแมค
ท้อง
Architect
อาร์คิเทค
สถาปนิก
Archaic
อาเคอิค
โบราณ,เก่า
Cholera
คอเลอร่า
เชื้ออหิวาต์
Technical
เทคนิคคัล
แห่งหลักวิชา
Technique
เทคนิค
หลักวิชา
Character
คาแรคเตอร์
นิสัย
School
สคูล
โรงเรียน
Technology
เทคน็อลโลจิ
วิชาเทคนิค

Qu ตัวนี้โดยปกติจะออกเสียง kw (คว) เสมอ เช่น

equal อีควอล เท่าเทียมกัน

liquid ลิควิด ของเหลว

conquest คอนเควสท์ ชัยชนะ

แต่ถ้า qu มาเป็นตัวสะกดและมี e ตาม คือสะกดด้วย que จะออกเสียงเป็น k (ค) เฉยๆ (ไม่ใช่ kw = คว เช่น
cheque เช็ค ใบเบิกเงิน

unique ยูนิค เอกภาพ

opaque โอเปค ตัวกลางทึบแสง

หมายเหตุ ถ้าเป็น qu ต่อไปนี้ออกเสียงเป็น k (ค) เท่านั้นได้แก่
mosquito มอสคิโท ยุง

liquor ลิเคอร์ เหล้า

queue คิว แถว

th ตัวนี้มีการออกเสียงอยู่ 2 อย่างคือ

1) th ออกเสียงเป็น “ซีต้า” (คือใช้ปลายลิ้นแตะปลายฟันทั้งบนและล่างแล้วจึงเปล่งเสียงออกมา) เช่น
think, thank, thin, thing

2) th ออกเสียงเป็น “เดลต้า” คือออกเสียง ด ค่อนข้างไปทาง ธ เช่น that, this, those, then, they

พยัญชนะที่ไม่ออกเสียง (Silent Consonant)

มีพยัญชนะอยู่บางตัวซึ่งเมื่อมารวมกันผสมเป็นคำเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ออกเสียง ซึ่งพยัญชนะดังวามานี้ได้แก่ตัวไหนบ้างนั้น มาดูกัน

b จะไม่อ่านออกเสียง เมื่อ b นำหน้าด้วย m เช่น

Bomb
บอม
ทิ้งระเบิด
Lamb
แลมป์
ลูกแกะ
Comb
คม
หวี
Dumb
ดัม
เป็นใบ้
Limb
ลิม
แขนขา
Climb
ไคลม
ปีนป่าย
Succumb
ซัคคัม
ยอมแพ้
Plumber
พลัมเมอะ
ช่างบัดกรี
Remember
รีเมมเบอร์
จำ

ยกเว้น :

อนึ่งเมื่อ b อยู่หน้า t พยัญชนะ b ไม่ต้องอ่านออกเสียงอีกเช่นกัน

debt เด้ด หนี้สิน

doubt เด้า การสงสัย

subtle ซัททึล อธิบายยาก, รุนแรง

t ไม่อ่านออกเสียง เมื่อ t อยู่หลังพยัญชนะ s ของคำต่อไปนี้ ได้แก่

castle คาสซึน ปราสาท

listen ลิสซึน ฟัง

fasten ฟาสซึน ผูก,มัด,ทำให้แน่น

whistle วีสซึน เป่านกหวีด

hasten เอชึน รีบเร่ง

wrestle เวสซึน ปล้ำมวย

postpone โพสทโพน เลื่อนออไป

อนึ่ง t อยู่หลัง f ก็ไม่อ่านออกเสียงอีกเช่นกัน ได้แก่คำต่อไปนี้คือ

often ออฟฟึน บ่อยๆ

soften ซอฟฟึน ทำให้อ่อนลง

G ไม่อ่านออกเสียง เมื่อ g นำอยู่ข้างหน้า พยัญชนะ m หรือ n ได้แก่คำต่อไปนี้คือ

compaign แคมเพน การขับเคี่ยว

paradigm แพระดิม แบบอย่างไวยากรณ์

foreign ฟอเรน ต่างประเทศ

assign แอสไซน์ กำหนด, แต่งตั้ง

sovereign วอฟวึริน ผู้มีอำนาจ, สูงยิ่ง

gnat แน้ท ตัวมด

ข้อยกเว้น : แต่ถ้า g อยู่หน้าพยัญชนะ n ของคำต่อไปนี้ ให้อ่านออกเสียง g ได้ ได้แก่

signature ซเนเช่อะ ลายเซ็น

resignation รีซิกเนชัน การลาออก

signify ซิกนิฟาย ทำเครื่องหมายให้เห็น

signal ซิกแนล ให้สัญญาณ

w จะไม่อ่านออกเสียนง เมื่อ w อยู่หน้าพยัญชนะ r ได้แก่ คำต่อไปนี้

write ไร้ท์ เขียน

wrist ริสท ข้อมือ

wrap แร็พ ห่อ

wrong รอง ผิด

wreath รีด พวงหรีด

wring ริง ปิดด้วยกำลัง

wrestle เรสซึน มวยปล้ำ

wrinkle ริ่งคึล ย่น

อนึ่ง w หลัง s ก็ไม่ต้องอ่านออกเสียงได้แก่คำต่อไปนี้

answer อ้านเซอร์ ตอบ, คำตอบ

sword ซอด ดาบ, กระบี่

d จะไม่อ่านออกเสียนงเมื่ออยู่ในคำต่อไปนี้

Wednesday เวนซเดย์ วันพุธ

handkerchief แฮ็งเคอะชีฟ ผ้าเช็ดหน้า

handsome แฮนซัม รูปหล่อ

k ไม่อ่านออกเสียง เมื่ออยู่หน้า n เช่น

know โนว รู้, ทราบ

knee นี เข่า

knife ไน้ฟ มีด

knot น้อท ปมเชือก

kneel นีล คุกเข่า

knob นอบ ปุ่ม, ลูกบิด

knight ไน้ท ขุนนาง

knock น็อท เคาะ, ชน, ทุบ

etc.

L ไม่อ่านออกเสียง เมื่อคำๆ นั้นสะกดด้วย –alk, -alf, -alm เช่น

chalk ชอล์ค ชอล์คที่ใช้เขียน

calm คาล์ม เงียบ, สงบ

half ฮ้าฟ ครึ่ง

n ไม่อ่านออกเสียง เมื่อคำ ๆ นั้นสะกดด้วย –mn เช่น

autumn ออทั่ม ฤดูใบไม้ร่วง

clumn คอลลัม แถว, เสาใหญ่

damn แดม เลวทราม

condemn คอนเดม ประณาม

solemn โซเลม โง่

แต่ถ้า n มีสระต่อท้ายให้ออกเสียง n ด้วย เช่น

columnist คอลลัมนิสท์ นักเขียนบนความ

condemnation ค็อนเดมเนชั่น การคว่ำบาตร

P ไม่อ่านออกเสียงในคำอ่านต่อไปนี้

pshchology ไซค็อลโลจิ จิตวิทยา

pneumonia นิวโมเนีย โรคปอดบวม

psalm ซาม บทสวด