นักข่าว : 3 ถึง 4 เดือนที่เราติดตามคดีหวย 30 ล้านบาท มีหลายประเด็นที่เราจะได้คุยกัน
โดยเฉพาะกระบวนการทำงานของตำรวจ วันนี้เชิญอดีตตำรวจมานั่งเสาะกระบวน
การทำงาน เอ๊ะทำไมคดีนี้ บางคนบอกว่า มันก็ไม่มีอะไรซับซ้อน มันก็แค่พิสูจน์ว่าใคร
เป็นเจ้าของหวยทำไมต้องถูกทำงานตั้งแต่ระดับพื้นที่ ไปถึงระดับภาค ถึงระดับจังหวัด
ระดับสอบสวนกลาง ระดับกองปราบ ถึง ผบ.ตร. ที่สุดแล้วก็ยังหาคำตอบไม่ได้ว่าใคร
เป็นเจ้าของหวย ในชั้นของตำรวจ วันนี้เราเชิญอดีตตำรวจมานั่งคุยกันในเชิงลึกๆเลย
ว่ามันเกิดอะไรขึ้นในกระบวนการ การทำงานของตำรวจ โดยฟังจากปาก อดีตรองผู้บังคับการตำรวจ กันว่าเป็นยังไง..จุดไหนเป็นจุดสำคัญในคดีหวย 30 ล้าน
อดีตตำรวจ : เรื่องแบบนี้มันมีเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่เผอิญว่า เงินมันเยอะ 30 ล้านไม่ใช่
เงินน้อยๆ มันก็เลยเป็นเรื่องราวใหญ่โต ถ้าเงิน 1 หมื่น 2 หมื่น มันก็อาจจะจบ
ที่โรงพัก…เรื่องมันไม่สามารถจบในพื้นที่ได้..ถึงขนาดเรื่องขึ้นไป ระดับภาค ระดับจังหวัด
จนถึงระดับสูงสุดแล้ว เรื่องก็ยังไม่จบ จริงๆเรื่องมันควรจะจบที่สถานีตำรวจนานล่ะ
ถ้าเงินไม่มาก อย่างที่กล่าวไป แต่ดันไปอายัดเงินไว้ในชั้นพนักงานสอบสวน ก็เป็น
เรื่องซิครับ เพราะว่า มันยังไม่เป็นคดีความเลย แล้วคนสั่งอายัดคือใคร มีหลักฐาน
ไหม นี่ก็เป็นปัญหาของระบบการสอบสวน กลายเป็นการสั่งที่มิชอบ การสั่งที่
หมิ่นเหม่ ต่อความผิดทางกฏหมายมันไม่มีบันทึกเป็นหนังสือ

นักข่าว : สั่งทางวาจา
อดีตตำรวจ : ก็อาจจะเป็นอย่างนั้น..เพราะเป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งที่รู้ว่ามันมิชอบด้วย
กฏหมาย…ผู้บังคับบัญชา อาจจะรับรองว่า ไม่เป็นไรน่า เขาก็เลยทำตามที่สั่ง
นี่คือปัญหาระบบการสอบสวน พนักงานสอบสวนไม่มีความเป็นตัวของตัวเองในขณะ
นั้น เป็นการสอบสวนโดยไม่อิสระ โดนบีบจากคนระดับบนๆ ตลอด ไม่งั้นคดีมันก็
จบตั้งแต่ระดับชั้นสอบสวนแล้วไม่ยืดเยื้อมาขนาดนี้หรอก..ขนาดคดีฆ่าคนตาย ยังจบได้เลย

คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

  • อายัด ภาษาอังกฤษ คือ Freeze, Sequester, Sequestrate