My (ของฉัน) his (ของเขา)
her (ของหล่อน) its (ของมัน)
Our (ของเรา) Your (ของท่าน)
Their (ของพวกเขา)
ตัวอย่างการใช้
My book หนังสือของฉัน
Your key กุญแจของคุณ
Her birthday วันเกิดของเธอ
Their house บ้านของพวกเขา
6. ปฤจฉาคุณศัพท์ (Interrogative Adjective)
คือ คำคุณศํพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อให้เป็นคำถาม โดยจะวางไว้ต้นประโยคและมีนามตามหลังเสมอ ได้แก่ What, Which, Whose
ตัวอย่างการใช้
What color does she like? เธอชอบสีอะไร?
Which one do you want? คุณต้องการอันไหน?
Whose house is this? บ้านหลังนี้เป็นของใคร?
7. คุณศัพท์บอกปริมาณ (Quantitative Adjective)
หมายถึง การใช้คำเพื่ออธิบายปริมาณของสิ่งของนั้นๆ เป็นลักษณะการบอกปริมาณแบบคร่าวๆ ไม่ได้ระบุเจาะจงถึงนามตัวใดตัวหนึ่ง เช่น enough (เพียงพอ), much (มาก), some (พอมีบ้าง), all (ทั้งหมด), many (มาก), any (บ้าง), great (มาก), few (สองสาม), whole (ทั้งหมด) เป็นต้น
some, much, all, little, many any, great, few
ตัวอย่างการใช้
I’m so much in love. ฉันตกหลุมรักอย่างจังเลยล่ะ
Tony did not give any money to his father. โทนี่ไม่ได้ให้เงินแก่พ่อแม่ของเขา
8. คุณศัพท์จำแนก (Distributive Adjective)
คือ คำคุณศัพท์ที่ไปขยายนามที่เป็นเอกพจน์และคำนามนับได้เพื่อแยกนามออกจากกันเป็นส่วนๆ โดยวางไว้หน้าคำนามเสมอ เช่น Each (แต่ละ) either (หรือย่างนี้ หรืออย่างนั้น) neither (ไม่ใช่อย่างนี้ ไม่ใช่อย่างนั้น)
ตัวอย่างการใช้
Every girls came to this class. เด็กผู้หญิงทุกคนเข้าเรียนชั้นนี้
Each soldiers were exhausted. ทหารแต่ละคนรู้สึกอ่อนเพลีย
9. คุณศัพท์เน้นความ (Emphasizing Adjective)
คือ คุณศัพท์เน้นความ หมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามเพื่อเน้นความให้มีน้ำหนักขึ้นได้แก่ own (เอง), very (นั้น, นั้นเอง, นั้นจริงๆ), complete (ทั้งหมด), utter (ทั้งหมด), absolute (แท้จริง)
ตัวอย่างการใช้
Ken is my own boyfriend.
เคนเป็นแฟนของฉันเอง (เน้นว่าของเธอ)
She is an absolute teacher.
เธอช่างเป็นครูอย่างแท้จริง (เน้นว่าอย่างแท้จริง)
10. คุณศัพท์บอกอุทาน (Exclamatory Adjective)
หมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้ขยายเพื่อให้เป็นคำอุทานได้แก่ what
ตัวอย่างการใช้
What genius! ฉลาดอะไรอย่างนี้เนี่ย
What an idea! ความคิดอะไรกันเนี่ย
11. คุณศัพท์สัมพันธ์ (Relative Adjective)
หมายถึง คุณศัพท์ที่ใช้ขยายนามที่ตามหลังและในขณะเดียวกันก็ยังทำหน้าที่คล้ายสันธานเชื่อมความในประโยคของตัวเอง กับ ประโยคข้างหน้าให้สัมพันธ์กันอีกด้วย ได้แก่ Whatever (อะไรก็ได้) Whichever (อันไหนก็ได้)
ตัวอย่างการใช้
I always want whichever you do not want.
ฉันต้องการในสิ่งใดก็ตามที่คุณไม่ต้องการเสมอ ๆ
คำคุณศัพท์ที่อยู่หน้านามและขยายนามนั้นโดยตรง เรียกว่า “Used attributively” ใช้อย่างคุณศัพท์ขยายนามโดยตรง คำคุณศัพท์ที่อยู่หลังกริยา เรียกว่า “Used predicatively” ใช้หลังกริยา แต่ยังคงเป็นคุณศัพท์ที่ขยายนามที่มาก่อนข้างหน้าเสมอไป