เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Punctuations ตอนที่ 2

2. Triple Dots (…)
เครื่องหมายจุด 3 จุดอันนี้ ใช้เมื่อต้องการแสดงการขาดหายไปของข้อความนั้นๆ อาจเป็นว่าผู้เขียนไม่ต้องการให้ทราบส่วนที่ขาดไป เพราะไม่ใช่ใจความสำคัญก็เป็นได้ หรือเนื้อที่มีจำกัด จึงจำเป็นต้องตัดทอนออกไป เช่น

แสดงการขาดหายไปตอนท้าย

You may get a real happiness of life if you sit in contemplation and realize the extinction of suffering…

คุณอาจได้รับความสุขที่แท้จริงของชีวิต ถ้าได้นั่งวิปัสสนา และรู้แจ้งถึงทางดับทุกข์…..

แสดงการขาดหายไปตอนต้น

…if you are in doubt whether or not to use periods in an abbreviation, consult a good dictionary for the standard reference. That’s the Advanced Learner’s Dictionary of Current English.

……ถ้าคุณสงสัยว่าคำย่อไหนจะใช้จุดหรือไม่นั้น ก็ควรจะมีพจนานุกรมที่เชื่อถือได้ ไว้อ้างอิงสักเล่มนั่นคือ Advanced Learner’s Dictionary of Current English.

แสดงการขาดหายไปทั้งตอนต้นและตอนท้าย

….Bassanio wants to go to Belmont to woo Partia. He asks Antonio to lend him money. Antonio says that he hasn’t any money at the moment until his ships come to port…
……ปัสสานิโอต้องการไปเมืองเบลมองด์ เพื่อเกี้ยวาพาราสีกับนางเปอร์เซีย เขาขอยืมเงินกับอันโตนิโอ อันโตนิโอบอกว่า ขณะนี้เราไม่มีเงิน จนกว่าเรื่องของเขาจะเทียบเท่าแล้ว (เขาจึงจะมีเงินให้ยืม)…..

3. Question Mark (?)
เครื่องหมายคำถาม (?) นี้จะนำมาใช้ได้ก็ในกรณีต่อไปนี้คือ

1) เมื่อจบข้อความที่เป็นประโยคคำถามจริง (Direct Question) เช่น
Who are you ?
คุณเป็นใคร ?
What is he doing now ?
เขากำลังทำอะไรเดี๋ยวนี้ ?
Is that your pen ?

นั่นปากกาของคุณหรือ ?
is it a horse or a donkey ?

มันเป็นม้าหรือลากันแน่?

2) ใช้เครื่องหมายคำถามในวงเล็บวางไว้ท้ายข้อความ, ตัวเลข หรือแสดงความสงสัยหรือไม่เข้าใจ (doubt or uncertainly) ได้ เช่น

John Pomfret, an English poet, was born in 1665 (?) and died 1705.

จอห์น พอมเฟร็ต นักกวีชาวอังกฤษเกิดปี 1665 (?) และตายในปี 1705

Mr. William’s family seemed to used in Thailand in B.E.2493 (?) and went back to America in 2506.

ดูเหมือนว่าครอบครัวของ มร. วิลเลี่ยมเคยมาอยู่ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2493 และก็กลับไปอยู่ในอเมริกาในปี 2506

3) ประโยคคำถามในคำขอร้องที่อยู่ในจดหมายติดต่อทางการค้าหรือธุรกิจต่างๆ (Business letter) จะไม่ใส่เครื่องหมายคำถามก็ได้ (แต่ถ้าจะใส่ก็ไม่ถือว่าผิด) เช่น

Will you be sure to let me know if this arrangement does satisfy you.

(= Will you be sure to let me know if this arrangement does satisfy you?)

4. Exclamation Mark (!)
เครื่องหมายนี้ใช้หลังคำอุทาน หรือหลังประโยคอุทาน เช่น

Help ! Frie! ช่วยด้วย ! ไฟไหม้ !

Be careful ! ระวัง !

What a fool I am ! ผมนี่โง่จริงๆ !

Oh, It’s wonderful ! โอ้โฮ วิเศษจริงๆ

There goes the bus! รถเมล์ไปที่นั่นแล้ว !

Oh Marry, how could you be careless !

โอ แมรี่ ทำไมเธอสะเพร่าอย่างนี้น่ะ (ใช่ ไม่น่าเลย)

5. Quotation Mark (“………..”)

เครื่องหมายอันนี้ (Quotation marks) ภาษาไทยเรียกว่า “อัญประกาศ” แต่ในทางปฏิบัติเรามักเรียกง่าย ๆ ว่า “เครื่องหมายคำพูด” มีไว้สำหรับใส่ข้อความที่คัดลอกมาจากที่อื่น เช่น คัดลอกคำพูดของคน เป็นต้น มีวิธีใช้ดังต่อไปนี้

1)ใช้กับข้อความที่อยู่ในประโยค Direct Speech เสมอ เช่น
He said, “I will have finished this work by sunset.”

เขาพูดว่า, “ผมจะต้องทำงานนี้ให้เสร็จก่อนพระอาทิตย์ตกดิน”

“I am going for a walk,”she said.

“ดิฉันจะออกไปเดินเล่น” หล่อนพูด

He said to me, “Where are you going ?”

เขาพูดกับผมว่า, “คุณกำลังจะไปไหน ?”

2)ถ้าข้อความใน Direct Speech นั้น มีข้อความอื่นมาขัดจังหวะ ต้องใช้เครื่องหมาย Quotation Marks อีกชุดหนึ่ง สำหรับข้อความที่เหลือ เช่น

“If you are ready,” she said, “he will with you.”

“ถ้าคุณพร้อม” หล่อนพูด “เขาก็จะไปกับคุณ”

“Excuse me,” he said “I believe you are mistaken.”

“ขอโทษครับ” เขาพูด “ผมยังเชื่อว่าคุณเป็นฝ่ายผิด”

3)ให้ใช้ Quotation Marks กับชื่อบทความ ชื่อเพลง ชื่อบทกลอน โคลง ฉันท์ กาพย์ เช่น
The song I like best is “One way Ticket.”

เพลงที่ผมชอบมากคือ “วันเวย์ทิคเก็ท”

“Petch Pra-u-ma” is a daily play in the Daily News.

“เพชรพระอุมา” เป็นชื่อบทละครประจำวันในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์

These students are reading Chit Buratat’s Samakkiped Kamchan.”

นักศึกษาเหล่านี้กำลังอ่านหนังสือ “สามัคคีเภทฉันท์” ของ ชิต บุรทัต

4).ใช้ Quotation Marks กับคำที่ผู้เขียนต้องการแสดงให้เห็นเป็นพิเศษอย่างใดอย่างหนึ่งในประโยคนั้น ๆ เช่น
I often call him a “coward.”

ผมมักเรียกเขาว่า “เจ้าคนขี้ขลาด”

“Siam” was the former name of Thailand.
“สยาม” เป็นชื่อดั้งเดิมของประเทศไทย

5)เครื่องหมาย comma (,) และจุด (.) จะต้องอยู่ภายในเครื่องหมายคำพูดเสมอ ไม่ว่ากรณีใดๆ เช่น
“It doesn’t matter,” he said “That’s my own uncle’s motor-car.”

“ไม่เป็นไร” เขาพูด “นั่นรถยนต์ของลุงผมเอง”

6)ถ้าประโยคนั้นจำต้องใช้ Quotation Marks ซ้อนกัน ชุดนอกใช้ชนิดคู่ ชุดในใช้ชนิดเดี่ยว เช่น

She said, “We are singing “The Impossible Dream now.”

หล่อนพูดว่า “เรากำลังร้องเพลง “ความฝันที่เป็นไปไม่ได้” อยู่ขณะนี้”

“We are studying T.S. Eliot’s The Hollow Men’ now,” he said.
เขาพูดว่า “พวกเรากำลังศึกษาเรื่อง The Hollow Men ของ T.SEliot อยู่ขณะนี้

7)เครื่องหมาย ? และ ! เมื่อมาอยู่ร่วมกับเครื่องหมายคำพูดจะใส่เครื่องหมาย ? หรือ ! ไว้ภายในหรือภายนอกเครื่องหมายคำพูดนั้น จะต้องพิจารณาเป็นกรณีไปว่าเป็นเครื่องหมายของส่วนใด เช่น
ถ้าเป็นข้อความที่คัดลอกมาเครื่องหมาย ? จะอยู่ภายในเครื่องหมายคำพูด

He said, Whom did you meet at the market yesterday ? “

เขาพูดว่า “คุณพบกับใครที่ตลาดเมื่อวานนี้”

The boy shouted, “Fire !”

เด็กคนนั้นตะโกนว่า “ไฟไหม้”

ถ้าเครื่องหมาย ? เป็นเครื่องหมายของประโยคทั้งประโยค เครื่องหมายคำพูดต้องอยู่ภายในเครื่องหมายคำถาม เช่น
Did you say “We are sick ?”

คุณพูดว่า “พวกเราไม่สบายหรือ” ?

6. Parentheses คือ ( ) และ Brackets คือ [ ]

Parentheses ได้แก่ เครื่องหมายวงเล็บเล็ก “( )” มีไว้สำหรับล้อมข้อความที่เป็นเชิงเตือนหรือตั้งข้อสังเกต หรือเป็นการอธิบายคำหรือข้อความที่มาข้างหน้า เช่น
I invited the two girls (they are cousins, you know) to the party last night.
ผมได้เชิญเด็กหญิง 2 คนนั้น (เขาเป็นลูกพี่ลูกน้องกันคุณคงรู้) ให้มาร่วมงานเลี้ยง คืนที่แล้ว

Brackets ได้แก่ เครื่องหมายวงเล็บก้ามปู “[ ]” เครื่องหมายอันนี้นิยมใช้ล้อมชื่อคน เป็นการเติมหือ อธิบายเพิ่มคำที่เรานำมากล่าว แต่ชื่อคนๆนั้น ต้องไม่ใช่ผู้แต่งข้อความนั้น เช่น
He [Columbus] discovered America.

เขา [โคลัมบัส] ค้นพบ (แผ่นดิน) อเมริกากา

“He [Lincoln] gave his famous address in Gettysburg in November, 1893.

เขา (ลินคอล์น) ได้แสดงปาฐกถาอันมีชื่อ ณ เมืองเก้ตทิสเบิร์ก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 1863