จากบทความก่อนหน้านี้ ทำให้เราได้ทราบแนวคิด แบบคร่าวๆ ในการแปลแล้ว..เราก็จะมาเรียนต่อถึงเรื่องหลักการในการแปลบ้างกันน่ะครับ ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย เราจะได้เข้าใจถึงลักษณะของการแปลเบื้องต้น…การทราบหลักการเบื้องต้น จะสามารถทำให้เรานำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต และยกระดับการศึกษาด้านภาษาอังกฤษของตัวเองให้ดีขึ้นด้วย
    ลักษณะของการแปล ผู้แปลจะต้องเป็นทั้งผู้รับสาร และ ผู้ส่งสารในเวลาเดียวกัน
ผู้แปลต้องรับสาร คือ ตัวงานที่จะแปล และสื่อออกไปผ่านสื่อ แล้วแปลงเป็นอึกภาษาหนึ่ง ดังนั้นผู้แปลต้องเข้าใจในสารที่จะแปลด้วยอีกทางหนึ่ง ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหาในการแปลได้

ขั้นตอนในการแปล

1. อ่านต้นฉบับ
    ก่อนจะทำการแปลและเขียนงานนั้น ต้องอ่านงานเขียนนั้นๆ ให้ครบถ้วน ตั้งแต่ต้นจนจบก่อนอย่างน้อย 1 รอบ ให้เราจำงานเขียนนั้นให้ดีเสียก่อน ก่อนที่จะทำการแปล
2. ทำความเข้าใจ
    เมื่ออ่านเสร็จแล้ว จากนั้นทำความเข้าใจกับงานเขียนชิ้นนั้นเสียก่อน ทั้งน้ำเสียงและใจความของเรื่องนั้นก่อน ต่อมาก็อย่าลืมจด และบันทึก ที่เราจะทำในขั้นต่อไป
3. การเรียบเรียงและวางโครงงานเขียน
    การวางโครง คือการนำสิ่งที่ทำความเข้าใจในเนื้อเรื่อง แล้วนำมาวางโครงงาน และเรียบเรียงในภาษาของผู้เขียน และหลีกเลี่ยงการใช้ไวยากรณ์หรือสำนวนภาษาของผู้เขียน ตามรูปแบบงานที่นำมาแปล เพื่อหลีกเลี่ยงการติดสำนวนต่างประเทศ แต่คำที่นำมาใช้ต้องตรง หรือใกล้เคียงกับคำในต้นฉบับ และระวังคำศัพท์ รวมถึงน้ำเสียงของผู้แต่งด้วย
4. ถ่ายทอดไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง
    ขั้นตอนสุดท้ายคือ การถ่ายทอดจากภาษาอังกฤษนั้นๆ เป็นภาษาไทยของเรา ต้องระวังคำศัพท์ ไวยากรณ์ และความหมายไม่ให้ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับ ระวังวัฒนธรรม แบะบริบทในงานเขียนชิ้นนั้นให้ดีๆ
5. ตรวจทาน
    เมื่อทำการแปลเรียบร้อย สิ่งที่สำคัญสิ่งหนึ่ง คือ การตรวจทานเนื้อหาที่ได้ทำเสร็จไปเรียบร้อยแล้วด้วย หากมีผิดพลาดก็อย่าลืมที่จะแก้ไข