3. ผันกริยา 3 ช่อง
    การผันกริยา 3 ช่องนี้ไม่ว่าคนที่เริ่มเรียนภาษาอังกฤษใหม่ ๆ ก็ต้องมาทำความเข้าใจกับคำกริยาในกลุ่มนี้อยู่ดีนะครับ การผันกริยา 3 ช่องให้ได้นั้นนับว่ามีความสำคัญมากในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ เพราะถือว่าเป็นลักษณะพื้นฐานของภาษาเลยนะครับ การผันกริยา 3 ช่องนั้นมีด้วยกัน 2 ลักษณะใหญ่คือ 1. แบบกริยาปกติในภาษาอังกฤษเรียกว่า Regular Verb นะครับ คำจำพวกนี้ก็จะเติม -ed ลงไปที่ท้ายคำได้เลยนะครับ เช่น
Walk –> walked  เดิน
Wash –> Washed  ล้าง
Talk –> Talked  พูด
aim –> aimed  เล็ง, ตั้งเป้า
2. การผันกริยาแบบกริยาไม่ปกติ คำพวกนี้ไม่สามารถเดิน -ed ได้ แต่ตัวของคำศัพท์ที่จะเปลี่ยนรูป หรือไม่เปลี่ยนรูปเลย โดยคำเหล่านี้ได้รวบรวมไว้ที่ภาคผนวกท้ายเล่มแล้วนะครับ แต่ตรงนี้ผมจะให้ตัวอย่างสัก 2-3 ตัวอย่างนะครับ
กริยาช่อง 1    กริยาช่อง 2    กริยาช่อง 3    ความหมาย
Go               Went           Gone            ไป
Hit               Hit               Hit                ดี
Win              Won            Won              ชนะ
Read            Read            Read            อ่าน

    คงจะเห็นแล้วนะครับว่าการใช้กริยาไม่ใช่เรื่องยากอะไร การแปลคำกริยาก็เช่นเดียวกับการแปลนามนั่นล่ะครับ
การแปลกริยา
    คำกริยาสามารถแปลตรงๆ ได้ในทันที เหมือนกับการแปลนามนั่นล่ะครับ โดยข้อควรรระวังมีเพียง คำกริยาประเภท Phrasal verb หรือ กริยาวลีและ Gerund verb พวกนี้เวลาแปลจะต้องดูความหมายที่แท้จริงของคำ และในกรณี Gerund ก็ต้องใส่คำว่าการหรือความลงไปข้างหน้าด้วย

คุณศัพท์ (Adjective)
  ใช้สำหรับขยายนาม หรือ สรรพนาม มี 11 ชนิด คือ
1. คุณศัพท์เฉพาะ (Proper Adjective)
    ต้องเขียนด้วยตัวใหญ่เสมอ เช่น
    Thai food    อาหารไทย
    English grammar    ไวยากรณ์อังกฤษ
    French book    หนังสือฝรั่งเศส
    ลองสังเกตให้ดีนะครับส่วนใหญ่จะเป็นชื่อประเภท สถานที่ หรือ ชนชาติ มาใช้ในการขยาย ซึ่งชื่อเหล่านี้เราต้องใช้ตัวอักษรตัวใหญ่เสมอครับ
2. ลักษณะคุณศัพท์ (Descriptive Adjective)
    คุณศัพท์ชนิดนี้มีขั้นธรรมดา (Positive Degree) ขั้นเปรียบเทียบน้อยกว่าหรือมากกว่า (Comparative Degree) และขั้นน้อยที่สุด หรือมากที่สุด (Superative Degree) ซึ่งต้องมี the นำหน้าสำหรับคำคุณศัพท์เดียว เมื่อเปรียบเทียบน้อยกว่าหรือมากกว่าเติม er เมื่อน้อยที่สุดหรือมากที่สุด เติม est สำหรับคำคุณศัพท์ที่มีหลายพยางค์ น้อยกว่าเดิม less ข้างหน้ามากกว่าเติม more ข้างหน้า ขั้นน้อยที่สุดต้องเติม the least ข้างหน้า เมื่อมากที่สุด เติม the most ข้างหน้า คำคุณศัพท์บางคำก้สามารถเปลี่ยนรูปได้
    ลักษณะการสังเกตพวกที่ใช้ในลักษณะนี้ จะมีการเปรียบเทียบระหว่างของสองสิ่ง พูดง่ายๆ ก็คือใช้ในประโยคเปรียบเทียบนั่นล่ะครับ ก็เลยมักจะพบกับคำว่า than แต่บางกรณีก็ใช้เพื่อพูดขึ้นมาลอยๆ เพื่อเน้นความหมายครับ
    จะมีตัวอย่างให้ดังต่อไปนี้
ADJECTIVE    COMPARATIVE    SUPERLATIVE
รูปธรรมดา       ขั้นกว่า                 ขั้นสุด                      ความหมาย
Big                Bigger than          The Biggest                  ใหญ่
Tall               Taller than            The Tallest                   สูง
Happy           Happier than         The Happiest                มีความสุข
Cheap           Cheaper than         The Cheapest               (ราคา) ถูก
Beautiful        More Beautiful       The Most beautiful         สวย
                     than 
Bad               Wose than             The Worst                    แย่
Horrible         More Horrible          The most Horrible        น่ากลัว
                    than
Dirty             Dirtier than               The dirtiest                  สกปรก
Low              Lower than               The Lowest                 ต่ำ
High             Higher than               The Highest                สูง
Nice             Nicer than                  The Nicest                  เหมาะสม เป็นมิตร
Good            Better than                The Best                     ดี
Small            Smaller than               The Smallest               เล็ก
Expensive      More Expensive than    The most Expensive   (ราคา) แพง
Funny           Funnier than                The Most Funniest      ขำขัน, สนุก
Kind              Kinder than                 The Kindest               ใจดี
Rich              Richer than                  The Richest               รวย