ตารางแสดงกานใช้ Relative Pronoun ใน Relative Clause

เนื่องจาก Defining Relative Clause และ Non-defining Relative Clause ต่างก็อาศัย Relative Pronoun เป็นคำนำ Clause ของตัวเอง ฉะนั้นเพื่อความไม่สับสนในการใช้ จึงขอแสดงให้ดูต่อไปนี้

Defining
Non-defining
Function
Person
Thing
Person
Thing
      
Subject
Who, that
Which, that
……., who…….
……..,which……..
      
Object of a
Verb
Whom, that
Which, that
……,whom……
……., which…..
       
Object of
Preposition
Who(m), that
Which…..to
…., whom…,
…., which….to…
Whom…..to,
To…which
…., whom…to,…
….,to which….
To…..whom
That
…,to whom….,..
      
Possessive
Whose
Of which
…., whose…,…
….,of which….,

ขอให้ดูตัวอย่างตามหน้าที่การใช้ดังต่อไปนี้

เมื่อเป็นประธาน (Subject)

ก. กับคน (person) นิยมใช้ who มากกว่า that เช่น
The boy who obeys his parents is a good boy.

เด็กผู้ที่เชื่อฟังบิดามารดาของตนนั้นเป็นเด็กดี

(ประโยคข้างบนนี้หากไม่ใส่ who obeys his parents เข้ามาจะไม่ทราบเลยว่าเด็กคนไหน หรือเด็กที่มีลักษณะอย่างไรเป็นเด็กดี ดังนั้น who obeys his parents เข้ามาจะไม่ทราบได้เลยว่าเด็กคนไหน หรือเด็กที่มีลักษณะอย่างไรเป็นเด็กดี ดังนั้น who obeys his parents จึงเป็น defining relative clause)

ข. กับสิ่งของ นิยมใช้ which มากกว่า that เช่น.

The car which (that) is going past now belongs to me.
รถยนต์คันที่ผ่านไปเมื่อกี้นี้เป็นรถของผม

(ประโยคนี้ก็เช่นกันหากไม่เพิ่ม which (that) is going past now เข้ามา ผู้ฟังก็จะไม่ทราบได้เลยว่า รถคันไหนเป็นรถของผม เพราะฉะนั้นประโยคที่เพิ่มเข้ามาจึงเป็น defining relative clause เพราะชี้เฉพาะเจาะจง)

Bangkok, which is the capital of Thailand, is 200 years old now.

กรุงเทพซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทย มีอายุ 200 ปีแล้วเดี๋ยวนี้

(ประโยคนี้ผู้ฟังเข้าใจได้ทันทีเลยว่า กรุงเทพมีอายุ 200 ปีนั้นหมายถึงกรุงเทพที่ไหน ทั้งนี้ก็เพราะว่ากรุงเทพมีอยู่แห่งเดียวในโลก คือในประเทศไทยนี้เท่านั้น ประโยคที่เพิ่มเข้ามา จึงเป็นเพียงการเสริมความจากสิ่งที่ทราบอยู่แล้วเท่านั้น มิได้เป็นการชี้เฉพาะเจาะจงอะไรเลย จึงได้ชื่อว่าเป็น Non-defining relative clause)

My friend’s uncle, who works at the Ministry of Foreign Affairs, has gone to the United States of America.

ลุงของเพื่อนผมผู้ซึ่งทำงานอยู่ที่กระทรวงการต่างประเทศ ได้ไปสหรัฐอเมริกาแล้ว

(ประโยคนี้ก็มีลักษณะเช่นเดียวกับประโยคที่กล่าวมา ลุงของเพื่อนผมคือใครไปสหรัฐ เรารู้กันแล้ว clause ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ จึงเป็นเพียงเสริมความจากที่ทราบอยู่แล้ว ดังนั้นจึงเป็น non-defining relative clause)

เมื่อเป็นกรรมของกริยา (Object of a Verb)

ก. กับคน (person) นิยมใช้ whom มากกว่า that เช่น
The people whom you met at the party are Muslims.

ประชาชนซึ่งคุณพบที่งานทานเลี้ยงเป็นชาวมุสลิม

(ถ้าพูดแต่เพียงว่า “ประชาชนเป็นชาวมุสลิม” ผู้ฟังก็จะไม่ทราบได้ว่า ประชาชนที่ไหน เพราะประชาชนมีมากเหลือเกิน ต่อเมื่อเพิ่ม Clause “Whom you met at the party” ลงไปแล้ว ใจความก็ชัดขึ้น ดังนั้น Clause ที่เพิ่มลงไปจึงเป็น defining relative clause)

Charles Dickens, whom I met in Italy, was a very famous writer.

ชาร์ลส์ ดิกเก็นส์ผู้ที่ผมได้พบที่ประเทศอิตาลี เป็นนักประพันธ์ที่มีชื่อเสียงมาก

(Charles Dickens คือใครผู้ฟังทราบแล้ว ฉะนั้น Clause ที่เพิ่มเข้ามาใหม่ จึงเป็นเพียงเสริมความจากสิ่งที่ทราบอยู่แล้วให้ละเอียดขึ้น แม้จะตัดประโยคที่เพิ่มเข้ามานี้ออกเสีย ใจความของประโยคหลักก็ยังคงอยู่ ดังนั้น clause ที่เพิ่มเข้ามาจึงเป็น non-defining relative clause)

ข. กับสัตว์, สิ่งของ (animal and thing) นิยมใช้ which มากกว่า that เช่น
The composition which you wrote yesterday is very good.

เรียงความที่คุณเขียนเมื่อวานนี้ดีมากทีเดียว

(ประโยคข้างบนนี้ ถ้าไม่มี which you wrote yesterday มาขยายหรือเจาะจงอยู่ข้างหลัง ผู้ฟังจะไม่ทราบได้เลยว่า เรียงความอันไหนดีมาก ดังนั้น clause ที่มาขยายอยู่หลัง composition จึงเป็น defining relative clause)

Thai silk, which she bought last week, is very beautiful.

ไหมไทยที่หล่อนซื้อมาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วสวยงามมาก

(พอพูดคำว่า “ไหมไทยสวยงามมากน่ะ” เท่านั้นออกไป ทุกคนรู้ได้ทันทีว่า หมายถึงไหมไทยเท่านั้น มิใช่ของชาติอื่น ประโยคที่เพิ่มเข้ามาหลัง Thai silk จึงเป็นเพียงเสริมความให้ละเอียดยิ่งขึ้นจากเรื่องที่ทราบอยู่แล้วเท่านั้น หาได้เป็น clause มาชี้เฉพาะให้กับคนไหมไทยไม่ เพราะฉะนั้นจึงเป็น non-defining relative clause)

White elephants, which Thai people present to the King, are rare.

ช้างเผือกซึ่งพสกนิกรไทยได้ทูลเกล้าถวายแด่พระเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นของหายาก

(ช้างเผือกเป็นของหาได้ยากใครๆก็รู้ มีความชัดเจนอยู่ในตัวแล้ว ฉะนั้นประโยคที่เพิ่มเข้ามาหลัง White elephants หาได้มาชี้เฉพาะไม่ เพียงแต่เสริมความให้ละเอียดขึ้นเท่านั้น จึงเป็น non-defining relative clause)

หมายเหตุ : Relative Pronoun ที่ใช้เป็น Object ของ Verb บางครั้งเราจะตัดออกเสียก็ได้ (เพราะถือว่าละไว้ฐานเข้าใจ) เช่น

The teacher. I love is ill today.

(=The teacher whom I love is ill today.

คุณครูที่ผมรัก วันนี้ไม่สบาย

The pen you gave me yesterday is red.

(=The pen which you gave me yesterday is red.

ปากกาที่คุณให้ผมไปเมื่อวานนี้เป็นปากกาสีแดง

I like the photo you took at Pattaya.

( = I like the photo which you took at Pattaya.)

ผมชอบกาแฟซึ่งคุณถ่ายที่พัทยา

เป็นกรรมของบุรพบท (Object of Preposition)

ก. กับคน (Person) นิยมใช้ Who(m) มากกว่า that แต่อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นภาษาพูดหรือภาษาธรรมดา (informal) เรามักจะละทิ้ง whom และ that เอาไว้ เช่น
informal : The man (who หรือ that) the book was written by is now reading a newspaper in his office.
Formal : The man by whom the book was written is now reading a newspaper in this office.
ผู้ชายที่เขียนหนังสือเล่มนั้นเดี๋ยวนี้กำลังอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ที่ห้องทำงานของเขา

(ถ้าไม่มี by whom the book was written หรือ the book was written by เข้ามาขยาย ผู้ฟังก็จะไม่ทราบได้ว่าชายคนไหนอ่านหนังสือพิมพ์อยู่ที่ห้องทำงาน เพราะฉะนั้นประโยคที่เพิ่มเข้ามาเพื่อชี้บ่งเฉพาะหรือจำกัดความไว้เช่นนี้จึงเป็น defining relative clause)

และนอกจากนี้แล้วเรายังสามารถแยกประโยคข้างบนนี้ออกเป็น 2 ประโยคได้ คือ

The man is now reading a newspaper in his office.

The book was written by the man.

Informal : Saithong, who(m) the teacher is tired of, is always absent from school.

Formal : Saithong of whom the teacher is tired, is always absent from school.

สายทอง ผู้ซึ่งครูเบื่อหน่ายนั้นขาดโรงเรียนเสมอๆ

(เพียงพูดว่า “สายทองขาดโรงเรียน” เท่านั้นแหละทุกคนรู้จักว่า สายทองคนไหน เพราะมีคนเดียวเท่านั้น

ฉะนั้น clause ที่เพิ่มเข้าหาได้ชี้ความเฉพาะให้กับสายทองไม่ เป็นเพียงเสริมความเท่านั้น clause นี้จึงเป็น non-defining relative clause)

ข. กับสัตว์, สิ่งของ (animal and thing) นิยมใช้ which มากกว่า that และตำแหน่งการวางระหว่างบุรพบท กับตัวกรรม แยกได้เป็น informal และ formal ดังนี้

Informal : The radio (which) I listen to is not dear.

Formal : The radio to which I listen is not dear.

วิทยุที่ผมฟังอยู่นั้นราคาไม่แพง

(ถ้าพูดเพียงว่า วิทยุราคาไม่แพง (The radio is not dear.) ผู้ฟังก็จะไม่ทราบได้เลยว่า วิทยุเครื่องไหนเพราะมีมากเหลือเกินในโลกนี้ แต่พอใส่ประโยค (which) I listen to หรือ to which I listen เข้าไปเท่านั้นผู้ฟังก็ทราบได้ว่าคือเครื่องที่ผมฟังอยู่ ดังนั้น clause ที่เพิ่มเข้ามาจึงเป็น defining relative clause เพราะบ่งความเจาะจง)

Informal : His dog, (which) she is afraid of, is very fierce.

Formal : His dog, of which she is afraid, is very fierce.

สุนัขของเขาที่หล่อนกลัวดุร้ายมาก

(“สุนัขของเขาดุร้ายมาก” พูดเพียงเท่านี้ผู้ฟังก็รู้เรื่องแล้วว่า หมายถึงสุนัขที่ไหน ดังนั้นข้อความที่เพิ่มเข้าไปจึงไม่ได้ชี้ความเฉพาะ เป็นเพียงเสริมความให้ละเอียดขึ้นเท่านั้น clause ที่เพิ่มเข้าไปจึงเป็น non-defining relative clause)

Informal : Ayuthaya, (which) we learnt about, was our former capital.

Formal : Ayuthaya, about which we learnt, was our former capital.

อยุธยาที่เราได้เรียนรู้นั้นเป็นเมืองหลวงเก่าของเรา

(ประโยคที่เพิ่มเข้ามาเป็น non-defining relative clause เพราะไม่จำเป็นแก่ใจความที่ต้องไปชี้เฉพาะอยุธยาเนื่องจากทุกคนรู้อยู่แล้วว่าอยุธยาที่ไหน แม้นัยอื่นก็ให้เทียบตามนี้)

เป็นคำแสดงเจ้าของ (Possessive)

ก. กับคน (person) ใช้ whose คำเดียวเท่านั้น เช่น
The man whose daughter I am going to marry is a policeman.

ชายผู้ซึ่งลูกสาวของเขา ผมจะแต่งงานด้วยนั้นเป็นตำรวจ

(ถ้าเราพูดเพียงว่า “ผู้ชายเป็นตำรวจ” ผู้ฟังจะงงทันที เนื่องจากไม่รู้ได้ว่า ผู้ชายคนไหนที่เป็นตำรวจ ต่อเมื่อเพิ่ม whose daughter I am going to marry ลงไปเท่านั้นก็ย่อมทราบเลยว่า หมายถึงคนนั้น เพราะฉะนั้น clause ที่ใส่ลงไปจึงเป็น defining relative clause มาชี้เฉพาะเจาะจง)

Thongbai, whose father wanted him to be a soldier, earns his living by singing.

ทองใบผู้ที่พ่อของเขาต้องการให้เขาเป็นทหารนั้น หาเลี้ยงชีพด้วยการร้องเพลง

(เพียงพูดว่า “ทองใบหาเลี้ยงชีพด้วยการร้องเพลง” ทุกคนก็รู้ได้ทันทีเพราะทองใบมีคนเดียว ฉะนั้นข้อความที่เพิ่มเข้ามาจึงเป็น non-defining relative clause เพราะมิได้ไปชี้เฉพาะเจาะจงให้ทองใบ เป็นเพียงเสริมความเท่านั้น)

This is Nick, whose wife teaches dancing.

นี้คือนิคผู้ซึ่งภรรยาของเขาสอนการเต้นรำ

(whose wife teaches dancing เป็น non-defining relative clause เพราะถึงจะมีหรือไม่มีก็มิได้ทำให้ใจความของประโยคเดิมเสียไป ผู้ฟังก็ยังเข้าใจอยู่วันยังค่ำ เพราะนิคมีคนเดียว)

ข. กับสัตว์, สิ่งของ (animal and thing) การแสดงความเป็นเจ้าของของสัตว์ และสิ่งของมีอยู่ 2 คำ คือ

(1). of which

(2). with + adjective + noun เช่น
– the book of which the cover is black and white is interesting.

– The book with the black and white cover is interesting.

หนังสือซึ่งปกของมัน (หรือมีปก) สีขาวดำนั้นน่าสนใจ

(ถ้าเราพูดเพียงว่า “หนังสือน่าสนใจ” ผู้ฟังก็ย่อมงงได้เพราะหนังสือมีมากไม่รู้เล่มไหน แต่ถ้าเพิ่มข้อความลงไปอีกหลังหนังสือ ผู้ฟังก็จะเข้าใจได้ทันที คือหนังสือเล่มมีปกสีขาวดำน่าสนใจ เพราะฉะนั้นประโยคที่เพิ่มเข้ามาจึงเป็น defining relative clause มาเจาะจงให้กับ book)

– The dog of which its tall is long is barking.

– The dog with a long tail is barking.

สุนัขซึ่งมีหางยาวกำลังเห่าอยู่

(ถ้าพูดเพียงว่า “สุนัขกำลังเห่า” ผู้ฟังอาจงงได้เพราะสุนัขมีมาก ไม่รู้ว่าตัวไหน แต่เราเติม of which its tail is long หรือ with a long tail เข้าไปเท่านั้น ผู้ฟังจะทราบได้ทันทีว่าหมายถึงสุนัขตัวไหน เพราะฉะนั้น clause ที่เพิ่มเข้าไปจึงเป็น defining relative clause)

– My house, of which the roof is made of brick, is going to be sold.

– My house with the roof made of brick is going to be sold.

บ้านของผมซึ่งมีหลังคาทำด้วยอิฐจะขายแล้ว
(ประโยคนี้ถ้าเราจะพูดเพียงว่า “บ้านของผมจะขาย” เท่านี้ผู้ฟังก็เข้าใจชัดอยู่แล้ว เพราะบ้านของผมก็แปลว่าไม่ใช่บ้านของคนอื่น ประโยคหรือวีที่เพิ่มเข้าไป ไม่ใช่ใจความสำคัญของประโยคจะตัดออกเสียก็ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อเพิ่มเข้าไป จึงเป็น non-defining relative clause เพียงเสริมความไม่ได้ชี้เฉพาะ)

This film, of which the producer is a man of sixty, is very amusing.

ภาพยนตร์เรื่องนี้ซึ่งผู้สร้างเป็นคนมีอายุ 60 ปีนั้นน่าสนุกมาก

(ประโยค of which…….เป็น non-defining relative clause โดยนัยคล้ายกับตัวอย่างที่ได้กล่าวมาแล้ว

อนึ่ง การใช้วลีแสดงความเป็นเจ้าของคือ with + adjective + noun นอกจากจะใช้กับสัตว์และสิ่งของแล้ว ยังอาจนำมาใช้กับคนได้ด้วย เช่น
The girl with long hair is my younger sister.

( = The girl whose hair is long is my younger sister.)

เด็กหญิงที่มีผมยาวนั้นเป็นน้องสาวของผม

The boy with blue eyes is an American boy

(= the boy whose eyes are blue is an American boy.)

เด็กชายผู้มีนัยน์ตาสีฟ้าเป็นเด็กอเมริกัน

ส่วนการใช้ that นำหน้า Relative clause โดยไม่ต้องใช้ who และ which เลยนั้น ให้เราไปอานเรื่อง Pronoun ตอนที่วาด้วยการใช้ Relative Pronoun “that” อีกทีหนึ่ง