เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Past Simple Tense

Past Simple Tense มีวิธีใช้ดังนี้

รูปแบบประโยค คือ Subject + กริยาช่อง 2

เช่น

He spoke.

I spoke.

They spoke.

Jim spoke.

A boy spoke.

The boys spoke.

จำ : กริยาที่ใช้ใน Tense นี้คือกริยาช่อง 2 รูปกริยาไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ไม่ว่าประธานจะเป็นบุรุษหรือพจน์ใดก็ตาม

ถาม : การเติม ed ที่คำกริยามีหลักเกณฑ์อย่างไร

ตอบ : การเติม ed ที่คำกริยามีหลักเกณฑ์ดังนี้

(1) กริยาที่ลงท้าย e อยู่แล้วให้เติม d ได้เลย เช่น

Love
Loved
รัก
Move
Moved
เคลื่อน
Realize
Realized
รู้, รับรู้
Hope
Hoped
หวัง
Raise
Raised
ยกขึ้น
Free
Freed
ปล่อยเป็นอิสระ

(2) กริยาที่ลงท้ายด้วย y และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน y เป็น i เสียก่อนแล้วจึงเติม ed เช่น

Cry
Cried
ร้องไห้
Rely
Relied
เชื่อถือ
Carry
Carried
ถือ, แบก
Try
Tried
พยายาม
Marry
Married
แต่งงาน

(3) กริยาที่ลงท้ายด้วย y แต่หน้า y เป็นสระให้เติม ed ได้เลย ไม่ต้องเปลี่ยน y เป็นอะไรทั้งสิ้น เช่น

Play
Played
เล่น
Obey
Obeyed
เชื่อฟัง
Delay
Delayed
ชักช้า
Enjoy
Enjoyed
ร่าเริง, สนุก
Stay
Stayed
พัก, อาศัย

(4) กริยาที่มีเพียงพยางค์เดียว มีสระตัวเดียว และลงท้ายด้วยพยัญชนะที่เป็นตัวสะกดตัวเดียวให้เพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก 1 ตัวเสียก่อน แล้วจึงเติม ed เช่น

Hop
Hopped
กระโดด
Beg
Begged
ขอร้อง
Plan
Planned
วางแผนการ
Nod
Nodded
พยักหน้า
Rub
Rubbed
ญ, ขยี้
Stir
Stirred
คน, ทำให้ทั่ว
Stop
Stopped
หยุด
Tax
Taxed
เก็บภาษี
Tow
Towed (โทว)
ลากด้วยเชือก

(5) กริยามีเสียง 2 พยางค์ แต่ลงเสียงหนักพยางค์หลัง และพยางค์หลังนั้นมีสระตัวเดียว ลงท้ายด้วยตัวสะกดตัวเดียว ต้องเพิ่มพยัญชนะที่ลงท้ายนั้นเข้าไปอีก 1 ตัวเสียก่อน แล้วจึงเติม ed เช่น

Concur
Concurred
ตกลง, เห็นด้วย
Occur
Occurred
เกิดขึ้น
Refer
Referred
อ้างถึง
Permit
Permitted
อนุญาต

ยกเว้น : ถ้าออกเสียงหนักที่พยางค์แรก ไม่ต้องซ้อนพยัญชนะตัวสุดท้ายเข้ามา เช่น

Cover
Covered
ปกคลุม
Open
Opened
เปิด

(6) นอกจากกฎที่กล่าวมาตั้งแต่ 1 ถึง 5 แล้ว เมื่อต้องการให้เป็นช่อง 2 ให้เติม ed ได้เลย เช่น

Walk
Walked
เดิน
Reach
Reached
ถึง
Work
Worked
ทำงาน
End
Ended
จบ

ถาม : กริยาที่เติม ed เพื่อให้เป็นอดีตนั้น มีหลักการออกเสียงได้ดังนี้

ตอบ : กริยาที่เติม ed เพื่อให้เป็นอดีตนั้น มีหลักการออกเสียงได้ดังนี้

(1) กริยาที่ลงท้ายด้วย t หรือ d เมื่อเติม ed ลงไปให้ออกเสียงเป็น “อิด” หรือ “เอ็ด” เช่น

Want
Wanted(ว้อนทิด)
ต้องการ
Start
Started (สต้าดทิด)
เริ่ม
Need
Needed (นีดเด็ด)
ต้องการ
Wait
Waited (เวททิด)
รอคอย
End
Ended (เอ็นดิด)
จบ
(2) กริยาที่ลงท้ายด้วย f,k,p,s,sh,ch, และ gh เติม ed ลงไปแล้วให้ออกเสียงเป็น “ทึ” (t) เบาๆในลำคอ เช่น


Drop
Dropped (ดร็อพทึ)
หล่นล หยด
Look
Looked (ลุ้คทึ)
มอง
Pass
Passed (พาสทึ)
ผ่าน
Wash
Washed (ว้อชทึ)
ซัก, ล้าง
Reach
Reached (รีชทึ)
มาถึง
Laugh
Laughed (ล้าฟทึ)
หัวเราะ
Cough
Coughed (ค้อฟทึ)
ไอ
(3) นอกจากที่กล่าวมาแล้ว (รวมทั้งตัว s ที่ออกเสียง z) กริยาที่เติม ed ให้ออกเสียงเป็น d (คือ “ดึ”) เบาๆ ในลำคอ เช่น

Love
Loved (เลิฟดึ)
รัก
Rub
Rubbed (รับดึ)
ถู
Beg
Begged (เบ็คคึ)
ขอ
Die
Died (ไดดึ)
ตาย
Play
Played (เพลดึ)
เล่น
Refuse
Refused (ริฟีสดึ)
ปฏิเสธ
Cover
Covered (โคเวอร์ดึ)
ปกคลุม
Carry
Carried (แครี่ดึ)
ถือ, แบก

ถาม : Past Simple Tense ใช้เมื่อใด ?

ตอบ : Past Simple Tense มีวิธีใช้ดังนี้

1)ใช้กับเหตุการณ์หรือการกระทำที่ได้เกิดขึ้นแล้วในอดีต และก็จบลงไปแล้วในอดีตโน้นก่อนที่จะพูดประโยคนี้ออกมา ในกรณีเช่นนี้มักจะมีคำ กลุ่มคำหรือประโยค (Clause) ที่แสดงความเป็นอดีตมากำกับไว้เสมอได้แก่

คำ (word)
กลุ่มคำ (Phrase)
ประโยค (Clause)
Ago
Last night
When he was young
Once
Last week (month)
When he was fifteen
Yesterday
Last year
After he had gone
Formerly
In 1980, just now yesterday afternoon
during the war
Whenever he saw me
When I lived in Paris

เช่น Somchai went to the cinema yesterday.

สมชายไปดูหนังเมื่อวานนี้

(การไปดูหนังเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ และก็กลับมาแล้วเมื่อวานนี้เช่นกัน)

I lived in Songkla three years ago.

ผมอยู่สงขลาเมื่อ 3 ปีล่วงมาแล้ว (เดี๋ยวนี้ไม่ได้อยู่แล้วส)

He learned English when he was young.

เขาเรียนภาษาอังกฤษ เมื่อตอนเป็นเด็ก (ขณะนี้ไม่เรียนแล้ว)

We saw the prime minister yesterday morning.

เราได้เห็นนายกรัฐมนตรีเมื่อเช้าวานนี้

His father died during the war.

บิดาของเขาตายในระหว่างสงคราม

The poor visited Thailand last year.

พระสันตะปาปาได้เสด็จเยือนประเทศไทยปีที่ผ่านมา

2) ใช้กับการกระทำซึ่งกระทำเป็นประจำในอดีต แต่ปัจจุบันมิได้กระทำการณ์นั้นอีกแล้ว ในกรณีนี้จะมี Adverb บอกความถี่ บ่อยๆ มาร่วมด้วยก็ได้ แต่ต้องมีคำบอกเวลาที่เป็นอดีตแน่นอนมากำกับไว้ตลอดไป เช่น

She walked to school every day last week.

หล่อนเดินไปโรงเรียนทุกวันเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

(เดินทุกวัน แต่เป็นทุกวันของอดีต ไม่ใช่ปัจจุบัน)

I always got up late last year.

ผมตื่นสายเสมอๆ เมื่อปีกลายนี้

(ตื่นสายเสมอๆ ของปีกลายนี้ ไม่ใช่ปัจจุบัน)

He went to school every day when he was young.

(ทุกวันเมื่อตอนเป็นเด็ก ไม่ใช่ทุกวันขณะพูด)

3) ใช้กับการกระทำในอดีต แสดงลำดับความต่อเนื่องของเหตุการณ์ กรณีนี้ Verb ทุกตัว ต้องเป็น Past Simple Tense ตลอดไป เช่น

I Opened my bag, took out some money and gave it to my firend.

ผมเปิดกระเป๋าเอาเงินออกมาและก็ให้เพื่อนไป

He jumped out of the house, saw a policeman and ran away.

เขากระโดดออกมาจากบ้านเห็นตำรวจก็วิ่งหนีไป

(การกระทำลักษณะต่อเนื่องเช่นนี้ Verb ทุกตัวต้องเป็น Past จำไว้)

4)ใช้กับกริยาในประโยคที่อยู่หลังสำนวนต่อไปนี้

– I would rather + Past Simple Tense

– It’s time + Past Simple Tense

– It’s high Time + Past Simple Tense

– It’s about time + Past Simple Tense

เช่น

I would Rather you did your homework.

ผมอยากให้คุณทำการบ้านของคุณ

It’s time the children went to bed.

ได้เวลาแล้วที่เด็กๆ จะต้องไปนอน

It’s high time we ended the meeting.

ได้เวลาที่เราจะจบการประชุมแล้ว

เปรียบเทียบการใช้ Present Perfect กับ Past Simple Tense

Present Perfect Tense ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์หรือการกระทำที่เกิดขึ้นในอดีตและยังดำเนินหรือมีผลต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันคือ เวลาที่พูดประโยคนี้ออกไป ส่วน Past Simple Tense นั้น ใช้กล่าวถึงเหตุการณ์ หรือการกระทำที่เกิดขึ้นและสิ้นสุดลงไปแล้วในอดีตโน้น หาได้มีผลต่อเนื่องของเหตุการณ์มาถึงขณะพูดไม่

นอกจากนี้ Past Simple Tense ก็จะมีคำบอกเวลาที่เป็นอดีตมากำกับไว้อย่างชัดแจ้ง เช่น

– David has lived in Thailand for two year.

– David lived in Thailand two years ago.

ประโยคแรกหมายความว่า เดิวดได้อยู่เมืองไทยมาแล้ว 2 ปี และขณะนี้เขาก็ยังอยู่เมืองไทย (ยังไม่กลับบ้าน ยังอยู่ที่นี่)

ประโยคหลังหมายความว่า เดวิดมาอยู่เมืองไทยเมื่อ 2 ปี ที่ผ่านมา ขณะนี้เขาไม่อยู่ที่เมืองไทยแล้ว เขากลับบ้านเกิดของเขาไปแล้ว เขาอยู่ที่นี่เมื่อสองปีก่อน

– I worked for two hours.

– I have worked for two hours.

ประโยคแรก : ผมได้ทำงานเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แต่ขณะที่พูดผมไม่ได้ทำแล้ว (เพราะทำเสร็จหน้าที่ไปแล้ว)

ประโยคหลัง : ผมได้ทำงานมาแล้วเป็นเวลา 2 ชั่วโมง ขณะพูดก็ยังทำอยู่ งานยังไม่เสร็จ