Inversion of Verb and Adverb

ถาม : Inversion of Verb and Adverb คืออะไร ? มีวิธีใช้อย่างไรบ้าง จงบอกมาอย่างละเอียด?

ตอบ : Inversion of Verb and Adverb หมายถึง “การกลับคำกริยาหรือคำกริยาวิเศษณ์ขึ้นไปไว้หน้าประธาน เพื่อถาม (Question) หรือเพื่อเน้นความ (emphasis)” มีวิธีใช้ดังต่อไปนี้

1) ใช้ในประโยคคำถาม ถ้าประโยคคำถามนั้นมีกริยาช่วยหรือกริยานุเคราะห์ (Helping Verb or Auxiliary Verb) ให้วางกริยาเหล่านี้ไว้หน้าประธาน (คือสลับที่กัน) เช่น

Is he in the office ? เขาอยู่ในที่ทำงานหรือ ?

Can I go in now ? ผมเข้าไปข้างในเดี๋ยวนี้ได้ไหม?

Have they finished their work? เขาทำงานเสร็จแล้วหรือ?

Will he come here every day? เขาจะมาที่นี่ทุกวันหรือ?
Must she clean the house? หล่อนต้องทำความสะอาดบ้านหรือ?

ถ้าในประโยคเดิมนั้นไม่มี Helping Verb เมื่อทำเป็น Inversion ต้องใช้ Verb to do มาช่วย ห้ามนำเอา Finite Verb ไปเป็น Inversion เสียเอง เช่น

ประโยคเดิม : He reads the Thai Rath Newspaper?
ถูก : Does he read the Thai Rath Newspaper?

ผิด : Reads he the Thai Rath Newspaper?
เขาอ่านหนังสือพิมพ์ไทยรัฐหรือ?

ประโยคเดิม : Somsak came from Chiengmai yesterday.

ถูก : Did Somsak come from Chiengmai yesterday?

ผิด : Came Somsak from Chiengmai yesterday?

สมศักดิ์มาจากเชียงใหม่หรือเมื่อวานนี้

2)ใช้ในประโยคคำตอบสั้นๆ Inversion ในกรณีนี้มักนิยมนำมาใช้เพื่อกล่าวเสริมข้อความที่เอ่ยมาแล้ว โดยที่ผู้พูดไม่ต้องพูดทวนประโยคเดิมนั้นให้เสียเวลา แบ่งออกเป็นชนิดย่อยๆ ได้ดังนี้

2.1 เสริมความรัก ได้แก่รูป so + กริยาช่วย + ประธาน เช่น

Rose can swim well and so can Billy.

โรสว่ายน้ำได้ดีและบิลลี่ก็เช่นกัน

Det likes tennis and so does Anong.

เดชชอบเทนนิส และอนงค์ก็ (ชอบ) เช่นกัน

You can come in my car and so can your dog.

คุณขึ้นรถของผมได้และสุนัขของคุณก็ขึ้นได้ด้วย

Daeng will help you and so will Ladda.

แดงจะช่วยคุณและลัดดาก็จะช่วยเหมือนกัน

2.2 เสริมความปฏิเสธ ได้แก่รูปดังนี้

Neither + กริยาช่วย + ประธาน

Nor + กริยาช่วย + ประธาน

เช่น

Her didn’t work hard and neither did she.

เขาไม่ได้ทำงานหนักและหล่อนก็ไม่ได้ทำงานหนักเช่นเดียวกัน

You haven’t much time and neither (or nor) have I.

คุณไม่มีเวลามากและผมก็เช่นเดียวกัน

John doesn’t like basketball and neither does Mary.

จอห์นไม่ชอบบาสเก็ตบอลและแมรี่ก็ไม่ชอบเหมือนกัน

You can’t speak Spanish and nor can I.

คุณพูดภาษาสเปนไม่ได้และผมก็พูดไม่ได้เช่นกัน

ข้อควรระวัง : ถ้าประโยคกล่าวนำข้างหน้าไม่เป็นปฏิเสธ อย่าได้ใช้รูป neither (or nor)+ กริยาช่วย + ประธาน ไปเสริมความเป็นอันขาด

2.3 เสริมความขัดแย้ง แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

แบบ A : ประโยคข้างหน้าเป็นปฏิเสธ : but + ประธาน + กริยาช่วย

เช่น

You can’t speak Chinese, but I can.

คุณไม่สามารถพูดภาษาจีนได้ แต่ผมพูดได้

He does not stop smoking, but I do.

เขาไม่หยุดสูบ (บุหรี่) แต่ผมหยุด

I didn’t sleep last night, but you did/

ผมนอนไม่หลับเมื่อคืนนี้ แต่คุณนอนหลับ

Sak won’t come here, but Anong will.

ศักดิ์จะไม่มาที่นี่ แต่อนงค์จะมา

แบบ B: ประโยคข้างหน้าเป็นบอกเล่า : but + ประธาน + กริยาช่วย + n’t

เช่น :

My sister likes to go to Bangsaen, but I don’t.

น้องสาวของผมชอบไปบางแสน แต่ผมไม่ชอบ

Thanin can sing sweetly, but you can’t

ธานินทร์ร้องเพลงได้ไพเราะ แต่คุณร้องไม่ได้

Kitti drank water, but Somchai didn’t.

กิตติดื่มน้ำ แต่สนใจไม่ได้ดื่ม

2.4 ใช้กล่าวเสริมในการแสดงความแปลกใจหรือไม่เชื่อ ได้แก่รูปประโยคดังนี้ Oh, + ประธาน + กริยาช่วย, + กริยาช่วย + ประธานฯ เช่น

A : “I’ve lost my camera.” ผมทำกล้องถ่ายรูปหาย

B: “Oh, you have, have you?” ตายแล้ว จริงหรือนี่

(จะเป็นความแปลกใจหรือไม่เชื่อขึ้นอยู่กับการออกเสียงของผู้พูด)

A : “I didn’t visit my uncle yesterday.”

B : “Oh, you didn’t, didn’t you?”

“ผมไม่ได้ไปเยี่ยมลุงของผมเลยเมื่อวานนี้”

“อ้าว ทำไมอย่างนั้นล่ะ”

หมายเหตุ : เครื่องหมายคำถามอาจไม่ใช้ก็ได้ เช่น

“I don’t like you.” ผมไม่ชอบคุณเลย

“Oh, you don’t, don’t you.” อ้อ ยังงั้นเรอะ (ไม่แปลกนี่)

อนึ่ง จะใช้รูปประโยค “so + ประธาน + กริยาช่วย” แทนก็ได้ เช่น :

A : “Look. You’ve broken your umbrella.”

B : “So I have.” (=oh, I have, have I ?)

ดูนี่ซิ คุณทำร่มหัก อ้อจริงซิน่ะ

2.5 ใช้กล่าวเป็นคำถามใน Question Tag แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

แบบ A : ประโยคข้างหน้าเป็นบอกเล่า, + กริยาช่วย + n’t + ประธาน ?

He gets up in early morning, doesn’t he?

เขาตื่นนอนแต่เช้าตรู่ ไม่ใช่หรือ?

She is always ill, isn’t she?

หล่อนเป็นไข้เสมอ ๆ ไม่ใช่หรือ?

You should go to school every day, shouldn’t you?

คุณควรจะไปโรงเรียนทุกวัน ไม่ใช่หรือ?

You should go to school every day, shouldn’t you?
คุณควรจะไปโรงเรียนทุกวัน ไม่ใช่หรือ?
แบบ B : ประโยคข้างหน้าเป็นปฏิเสธ, + กริยาช่วย + ประธาน?

His mother can’t drive a car, can she?

คุณแม่ของเขาไม่สามารถขับรถได้ ใช่ไหม?

Thai women don’t smoke cigarettes, do they?

ผู้หญิงไทยไม่สูบบุหรี่ ใช่ไหม?

Mana didn’t sleep here last night, did he?

มานะไม่ได้นอนหลับที่นี่เมื่อคืนนี้ ใช่ไหม?

3)Adverb ที่มีรูปปฏิเสธ (negative adverb) หรือกึ่งปฏิเสธ สามารถทำเป็น Inversion ได้ โดยการนำเอา Adverb ดังกล่าวมานี้ขึ้นไปไว้ต้นประโยค และสลับที่ระหว่างประธาน กับกริยาช่วยไว้หน้า-หนังกันและกันอีกต่อหนึ่งด้วย ทั้งนี้เพื่อเป็นการเน้น (emphasis) ให้กับข้อความนั้นๆ (อย่างไรก็ตามรูป Inversion ข้อนี้นิยมใช้ในภาษาเขียนมากกว่าภาษาพูด) = Adverb + กริยาช่วย + ประธาน + กริยาแท้

คำ Adverb ที่ทำ Inversion ได้ ได้แก่คำต่อไปนี้

Never, seldom, rarely, scarcely, hardly, at no time, in no way, no sooner, not often, nowhere else, only, little, by no means

เช่น

Never has such a thing happened before.

(มาจากประโยคเดิม : Such a thing has never happened before.)

สิ่งนั้นไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนเลย

No sooner had the doctor arrived than the man died.
(มาจากประโยคเดิม : The doctor had no sooner arrived than the man died.)

หมอยังไม่ทันมาถึงชายคนนั้นก็ตายเสียแล้ว

Rarely does he go to work late.
(= He rarely goes to work late.)

เขาไม่ค่อยไปทำงานสาย (ชอบไปแต่เช้า)

Seldom do we go to school late.

(=We seldom go to school late.)

นานๆ ครั้งเราจึงไปโรงเรียนสาย

Only in the country can one get really fresh vegetable.

(=In the country one can only get really fresh vegetable.

เราจะได้ผักสดจริงๆ ก็แต่ในชนบทเท่านั้น

Nowhere else does she go next Sunday.

(=She goes nowhere else next Sunday.)

หล่อนไม่ไปไหนแล้ววันอาทิตย์หน้านี้

Scarely have I visited my grandfather in Bangkok.

ผมแทบจะไม่ได้ไปเยี่ยมปู่ของผมที่กรุงเทพฯ

ข้อสังเกต : ประโยคเดิมใดไม่มีกริยาช่วย เมื่อทำ Inversion ให้ใช้ Verb to do ขึ้นมาวางไว้หน้าประธานแทน (ตามตัวอย่างที่ยกไว้)

4) ในประโยคเงื่อนไข (Conditional Sentence) ที่ไม่ใช่ if เราสามารถสลับประธาน กับกริยา (Inversion) ขึ้นไปไว้ต้นประโยคได้เสมอ เช่น
Should you be late once again, you’ll lose your job.
(= if you should be late once again, you’ll lose your job.)

ถ้าคุณมาทำงานช้าอีกครั้งละก็ คุณจะต้องออกจากงาน
Had the manager been kinder to his employees. there wouldn’t have been several retirals from the firm
ถ้าผู้จัดการมีน้ำใจต่อลูกจ้างของเขามากกว่านี้หน่อยแล้วก็คงจะไม่มีการลาออกจากบริษัทมากมายนัก
( = If the manager had been kinder………from the firm)
Were it not for the expense involved, I would go to Chiengmai by air.
( = If it were not for the expense………….by air.)
ถ้าไม่ใช่เพราะเกี่ยวกับรายจ่าย ผมคงไปเชียงใหม่โดยการลงเครื่องบินแล้ว

5) ในประโยคที่มีคำหรือกลุ่มคำบอกสถานที่ เช่น there, here, inside the room, before them, outside the temple etc. เราสามารถทำการสลับประธานและกริยา (Inversion) ได้ตามรูปดังนี้
คำบอกสถานที่ + กริยาแท้ + ประธาน

เช่น
Here comes the taxi. แท็กซี่มานี่ซิ

There goes your money. เงินของคุณไปที่นั่นแล้ว
Inside the room were a lot of furniture.
ภายในห้องมีเครื่องเรือนมากมาย
Before them lay a beautiful diamond ring.
แหวนเพชรอันสวยงามได้วางไว้ข้างหน้าพวกเขา

6) ในประโยคที่แสดงการขัดแย้ง (Concession) เราอาจย้ายคำวิเศษณ์ขึ้นไปไว้ต้นประโยคได้ (Inversion) ตามรูปประโยคดังนี้
Adverb + as + ประธาน + กริยาแท้ = Although + Clause
เช่น Much as I like him, I won’t go anywhere with him.
แม้ผมจะชอบเขามาก ผมก็จะไม่ไปที่ไหนกับเขาเลย

( = Although I like him much, I won’t go anywhere with him.)
Much as they worked hard, they never complained.
ถึงแม้เขาจะทำงานหนัก เขาก็ไม่เคยบ่น

( = Although they worked hard, they never complained.)

7) กริยาของประธานในประโยคเลขนอกของ Direct Speech จะวางกริยาไว้หน้าประธาน (Inversion) ก็ได้ เมื่อไปอยู่หลังประโยคคำพูด เช่น

“This is not what I told you to do”, Shouted his boss.

นี่ไม่ใช่สิ่งที่ฉันบกให้คุณไปทำ” นายของเขาตะโกน

“Right, Ayuthaya used to be the capital of Thailand before, “said he.

“ใช่แล้ว อยุธยาเคยเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมาก่อน” เขาพูด