กลุ่มคนในช่วงอายุ 15-64 ปี หรือ 70% ของประชากรไทย นับเป็นกลุ่มวัยทำงานที่ถือเป้นกำลังสำคัญของประเทศ แต่จากข้อมูลของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข กลับพบว่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา คนในกลุ่มนี้เกือบครึ่งเสียชีวิตด้วยโรคต่างๆ เช่น โรคหัวใจ, โรคมะเร็ง, ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมอง

    ส่วนหนึ่งเป้นเพราะ Work-Life Balance หรือ ความสมดุลระหว่าง “งาน” กับ “การใช้ชีวิต” ที่ไม่บาลานซ์ ซึ่งมีปัจจัยจากหน้าที่การงานบทบาทภาระของการเป็นพ่อแม่ หรือความเคียดทางด้านการเงิน สำหรับแนวทางการปฏิบัติตัวของคนวัยทำงาน เจเนอราลี ไทยแลนด์ ได้ให้ข้อแนะนำไว้ ดังนี้

  • นอนให้เพียงพอ : จากงานวิจัยของสมาคม National Sleep Foundation ได้ข้อสรุปว่า แต่ละช่วงอายุมีความต้องการในการนอนไม่เท่ากัน เช่น ช่วงอายุ 26-64 ปี ควรนอนประมาณ 7-9 ชม.ต่อวัน หรือสังเกตได้จากประสิทธิภาพในการทำงาน หรือการใช้ชีวิตประจำวันของตัวเอง เช่น การไม่ง่วงหลับระหว่างวัน ความคิดและการตอบสนองที่ฉับไว เป็นต้น
  • อาหารที่ดีกับร่างกาย : เพื่อให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายควรจะกินให้ครบทั้ง 5 หมู่ และคำนึงถึงสมดุลระหว่างแคลอรี่ที่ได้รับและพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน ปัญหาที่พบมากในคนวัยทำงาน คือ เรื่องน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น เป็นผลจากการกินอาหารนอกบ้านและไม่มีเวลาออกกำลังกาย ดังนั้น การให้ความสำคัญในการเลือกกินอาหารจึงเป็นสิ่งที่จะช่วยส่งเสริมให้มีสุขภาพที่ดีได้อย่างง่ายดาย
  • อาหารสมอง : สมองเป็นอวัยวะที่ใช้พลังงานจากกลูโคสซึ่งได้จาการย่อยคาร์โบไฮเดรต แต่ระดับกลูโคสควรสม่ำเสมอและไม่สุงมากจนเกินไป ควรเลือกทานคาร์โบไฮเดรตที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ข้าวไม่ขัดสี, ธัญพืช, ผลไม้ที่จะช่วยให้ระดับน้ำตาลคงที่และอยู่ได้นาน ส่วนกรดไขมันที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้อย่าง โอเมก้า 3 ที่หลายคนคิดว่าพบแต่ในปลาราคาแพง อย่างแซลมอน หรือ ปลาเทราต์ ที่จริงปลาชนิดอื่น เช่น ปลาทู, ปลากระพงขาว, ปลาสำลี, ปลานิล, ปลาดุก, ปลาสวาย หรือแม้กระทั่งธัญพืช เช่น เมล็ดฟักทอง, เมล็ดเชีย, ถั่ววอลนัท, ต่างก็มี โอเมก้า 3 สูง เช่นกัน นอกจากนี้สมองยังต้องการสารอาหารอีกหลายชนิด เช่น อาหารที่มีวิตามินบี 1, 6, 12 และอาหารที่มีสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซี, วิตามินอี และเบต้าแคโรทีน ซึ่งพบได้ในถั่ว, ธัญพืช, ข้าวไม่ขัดสี, ไข่, สัตว์ปีก, ผลิตภัณฑ์จากนม, ผักและผลไม้หลากสี
  • การออกกำลังกาย : สำหรับวัยทำงานควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์ อย่างน้อยครั้งละ 20-30 นาที ร่วมกับการออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้ออย่างน้อย 2 ครั้งต่อสัปดาห์ และต้องไม่ลืมที่จะทำการยืดเหยียดกล้ามเนื้อทั้งก่อนและหลังเพื่อป้องกันการบาดเจ็บและเพิ่มสมรรถภาพของร่างกาย

    คำศัพท์ภาษาอังกฤษ

    • พักผ่อนให้เพียงพอ ภาษาอังกฤษ to take a rest enough.
    •  สมรรถภาพของร่างกาย ภาษาอังกฤษ Physical fitness
    • ปลากระพงขาว ภาษาอังกฤษ Sea bass 
    • ปลาสำลี ภาษาอังกฤษ BLACK-BANDED TREVALLY
    • ปลาสวาย ภาษาอังกฤษ Striped catfish
    • วัยทำงาน ภาษาอังกฤษ Working age
    • ข้าวไม่ขัดสี ภาษาอังกฤษ Brown rice