เรียนภาษาอังกฤษ เรื่อง Adverb ตอนที่ 2

ถาม : ถ้า Adverb of Place มาขยายกริยาพร้อมกันทีเดียวตั้งแต่ 2 คำหรือ 2 ตัวขึ้นไปจะมีหลักการวางอย่างไร ?

ตอบ ถ้า Adverb of Place (กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่) มาขยายกริยาพร้อมกันตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปให้วางหรือเรียงขยายกริยาจากสถานที่เล็กๆ ไม่ใหญ่โตไปหาสถานที่ที่ใหญ่โตกว้างขวาง เช่น

I was born in a small village in Petchabun.

ผมเกิดที่หมู่บ้านเล็กๆ แหงหนึ่ง ในจังหวัดเพชรบูรณ์

Mary lives in a small village in California.

แมรี่อาศัยอยู่ที่หมู่บ้านเล็กๆ แห่งหนึ่ง ในแคลิฟอร์เนีย

At a small university in London, there are many students paying attention to studying the history of Far East Asia.

ที่มหาวิทยาลัยเล็กๆ แห่งหนึ่งในกรุงลอนดอน มีนักศึกษาเป็นจำนวนมากให้ความสนใจที่จะเรียนประวัติศาสตร์ของเอเชียตะวันออกไกล

ถาม : ถ้า Adverb of Time (กริยาวิเศษณ์บอกเวลา) และ Adverb of Place (กริยาวิเศษณ์บอกสถานที่) มาขยายกริยาพร้อมกันในประโยคเดียว จะมีหลักการวางอย่างไร? ขอให้อธิบายและยกตัวอย่างประกอบด้วย?

ตอบ : ถ้า Adverb of Time และ Adverb of Place มาขยายกริยาพร้อมกันอยู่ในประโยคเดียวให้วาง Adverb of Place ไว้หน้า Adverb of Time ตามหลัง เช่น

We went swimming in the sea last week.

พวกเราไปว่ายน้ำที่ทะเลเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา

(in the sea เป็น Adverb of Place วางไว้หน้า last week เป็น Adverb of Time วางตามหลัง เข้าใจแล้วใช่ไหม ครับ ยิ้มหน่อยซิ)

Please come and meet me outside the school at twelve o’clock on Monday.

กรุณามาพบผมที่นอกโรงเรียนเวลา 12 นาฬิกา วันจันทร์น่ะ

(Outside the school เป็น Adverb of Place วางไว้หน้า at twelve o’clock on Monday เป็น Adverb บอกเวลาเรียงตามหลัง) หรือจะให้ยกตัวอย่างต่อไปอีกก็ได้ ดูน่ะจ๊ะ

Can you return these books to the public library before Friday?

คุณสามารถเอาหนังสือเหล่านี้ไปคืนห้องสมุดสาธารณะก่อนวันศุกร์นี้ได้ไหม?

(to the public library เป็น Adverb บอกสถานที่วางไว้หน้า ส่วน before Friday เป็น Adverb บอกเวลาเรียงตามหลัง แต่ Adverb ทั้ง 2 ชนิดก็ไปขยายกริยา return ด้วยกันทั้งนั้น)

หมายเหตุ : อย่างไรก็ตามถ้าผู้พูดต้องการเน้นเวลาให้เป็นจุดเด่นในประโยค จะเอา Adverb of Time ซึ่งเคยเรียงตามหลัง Adverb of Place ตามหลัง แยกต่างหากเอาไปเรียงไว้ต้นประโยคก็ได้ เช่น

Last year we went to England; next year we’re going to America.

ปีที่แล้วเราไปประเทศอังกฤษ ปีหน้าเราจะไปอเมริกา

(Last year และ Next year เป็น Adverb บอกเวลา ปกติต้องเรียงไว้ to England และ to America แต่ที่เอาไปเรียงขึ้นต้นประโยคเพราะต้องการเน้นเวลา)

Every Sunday he goes to the cinema.

ทุกวันอาทิตย์เขาไปดูหนัง

(Every Sunday เป็น Adverb บอกเวลา แทนที่จะวางตามหลัง Adverb บอกสถานที่ คือ to the cinema ตามปกติ แต่ผู้พูดต้องการเน้น เวลาจึงเอาไปวางไว้ต้นประโยค แม้ไปพบเห็นที่อื่นก็ให้เทียบเคียงตามนัยนี้)

4. Adverb of Frequency (แปลว่า “กริยาวิเศษณ์บอกความถี่ หรือบอกความบ่อยๆ”) หมายถึง คำ หรือ กลุ่มคำที่ไปทำหน้าที่ขยายกริยาเพื่อตอบคำถามว่า How often (บ่อยแค่ไหน) แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

1) ชนิดที่เป็นคำเดียวได้แก่ always, often, seldom, ever, never, sometimes, rarely, hardly, generally, scarcely, frequently, occasionally, usually และตำแหน่งการวางในประโยคมีดังนี้ :

1.1 ถ้าประโยคนั้นมีกริยา Verb to be ให้เรียงไว้หลัง Verb to be ตลอดไป เช่น :
She is always at home on Sundays.

หล่อนอยู่บ้านเสมอ (ไม่ไปไหน) ในวันอาทิตย์

I am rarely happy to have stayed here.

ผมแทบจะหาความสุขไม่ได้เลยที่มาอยู่ที่นี่

Somchit is occasionally a little nevous.

บางครั้งสมจิตก็มีอาการเป็นประสาทนิดหน่อย

(จะเห็นได้ว่า Adverb บอกความถี่คือ always, rarely, occasionally วางอยู่หลัง Verb to be ตลอดเวลา ขอให้จำไว้นะครับอย่าลืม)

1.2 ถ้าประโยคนั้นมีแต่กริยาแท้ ให้วางไว้หน้ากริยาตลอดไป เช่น

He seldom goes to the cinema.

เขาไม่ค่อยได้ไปดูหนัง

She often gives me a smile while she see me.

หล่อนยิ้มให้ผมบ่อยๆ เมื่อหล่อนพบผม

They generally play football after class.
ปกติหลักเลิกเรียนแล้วพวกเขาจะเล่นฟุตบอล

(ขอให้สังเกต Adverb บอกความถี่คือ Seldom, often, generally, จะวางไว้หน้ากริยาแท้ตลอดเวลา แม้ประโยคอื่นก็ให้เทียบตามนั้น)

1.3 ถ้าประโยคนั้นมีกริยาช่วยต่อไปนี้ will, would, shall, should, can, could, may, might, must, need, dare ให้เรียงไว้หลังกริยาเหล่านี้ตลอดไปเช่น

The manager will never agree to my offer.
ผู้จัดการจะไม่เคยเห็นด้วยกับข้อเสนอของผมสักที

He can sometimes go to see his girl-friend.
บางครั้งเขาก็สามารถไปพบแฟนของเขาได้

Surachai may occasionally come and see me.
สุรชัยอาจมาพบผมเป็นบางโอกาสได้

(ดูให้ดี Adverb บอกความถี่คือ never, sometimes, occasionally, จะว่างอยู่หลังกริยาช่วยอันได้แก่ will, can, may ตลอดไป)

หมายเหตุ : ถ้าในประโยคนั้นๆ มีกริยาช่วยหลายตัว ให้วาง Adverb บอกความถี่ไว้หลังกริยาช่วยตัวแรก เช่น :

Sumit has often been praised for the result of his experiments.

สุมิตรได้รับการยกย่องเพราะผลงานการทดลองของเขาเสมอ

I have never seen this wonderful thing before.

ผมไม่เคยเห็นสิ่งมหัศจรรย์เชนนี้มาก่อนเลย

(often, never วางไว้หลังกริยาช่วยตัวแรก คงเห็นแล้วใช่ไหมครับ?)