สันธาน (Conjunction)

     อย่างที่เคยได้กล่าวไปบ้างแล้วว่า สันธาน นั้นใช้เพื่อเชื่อมประโยค กับ ประโยค โดยสันธานนั้นต่างจากบุพบทก็ตรงนี้เอง ความสำคัญของสันธานก็คือการทำให้เกิดการรวมหลายๆ ประโยค เป็นประโยคใหญ่ประโยคเดียวโดยมีลักษณะที่สังเกตได้คือ ประโยคเมื่อถูกสันธานเชื่อมนั้น จะกลายเป็นประโยคความรวม หรือ ประโยคความซ้อนมากยิ่งขึ้น
     สันธานเชื่อมคำ, วลี, และประโยค (Co-ordinating Conjunction) แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มย่อย ๆ คือ
1. เชื่อมสอดคล้องต่อเนื่อง
     คำกลุ่มนี้ถ้าเป็นในภาษาไทยก็คงเทียบได้กับคำว่า “และ” นั่นแหละจ๊ะ…โดยเวลาใช้จะเป็นลักษณะของการเชื่อมประโยค กับ ประโยคนั่นเอง ในกลุ่มนี้ก็ได้แก่
and, also, beside, in addition, moreover, furthermore
ถ้านำมาใช้ในประโยค ก็เช่น
Jill and I love chocolate.  จิลและฉันชอบช็อกโกแลต
2.เชื่อมขัดแย้ง
     ถ้าในภาษาไทยก็คงบอกว่าเป็นพวกเดียวกับคำว่า “แต่” นั่นเอง โดยคำเหล่านี้ใช้เชื่อมเพื่อบอกความขัดแย้งระหว่างประโยคที่ 1 แะลประโยคที่ 2 ได้แก่ 
But , However, On the other hand, Nevertheless, Different of
I like cat but my boyfriend doesn’t.
ฉันชอบแมวแต่แฟนของฉันไม่ชอบ

3. เชื่อแบบให้เลือก
     มันคล้ายๆกับกลุ่ม “และ” แต่จุดนี้เราจะใช้คำว่ากลุ่ม “หรือ” คือ ให้เลือกจากเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง คำในกลุ่มนี้มีน้อยนะ ที่ใช้บ่อยก็คือ or
ตัวอย่างเช่น
Would you like some coffee or tea?
คุณอยากได้ชาหรือกาแฟคะ

4. เชื่อมแบบต่อเนื่อง/ เหตุผล
     ในกลุ่มนี้มีทั้งที่เป็นลำดับ และเหตุผล ในภาษาอังกฤษก็มีอยู่มากพอสมควร คำในกลุ่มนี้ หรือที่เราจะใช้อีกชื่อหนึ่งว่า กลุ่ม “เพราะ” ก็จะมี ดังนี้
because, aware of, reason of, if, first, then, when
เมื่อมาลองใช้จริงจะได้ดังต่อไปนี้

I don’t like this shirt because it is too red.
ฉันไม่ชอบเสื้อเชิ้ตตัวนี้เลย เพราะมันสีแดงเกินไป

First thing I do when I come to school is clean my desk
สิ่งที่ผมทำเป็นสิ่งแรกเมื่อไปโรงเรยนคือ ทำความสะอาดโต๊ะเรียน

     สันธานเชื่อมประโยคหลัก “Main clause” กับอนุประโยค “Subordinate clause” (Subordinating Conjunction) ได้แก่ after, before, until เป็นต้น เช่น
I will stay here until I meet Jill.
ฉันจะอยู่ตรงนี้จนกว่าจะพบจิล

I will stay here. (เป็นประโยคหลัก)
I meet Jill (เป็นอนุประโยค)
โดยมีตัวเชื่อมคือ until (จนกระทั่ง)