สรรพนาม (Pronouns)
     คือ คำที่ใช้แทนนาม (Nouns) ทุกชนิด เพื่อไม่ให้เรียกนามนั้นซ้ำๆ กัน มีอยู่ 9 ชนิด คือ
1. บุรุษสรรพนาม (Personal Pronoun)
     สรรพนามบุรุษที่ 1 คือ ตัวผู้พูด ได้แก่ | (ประธาน), me (กรรม)
     สรรพนามบุรุษที่ 2 เอกพจน์ คือ ผู้ฟัง ได้แก่ thou, thee (เจ้า) คำพวกนี้มักไม่ใช้ในภาษาพูด และภาษาเขียนโดยทั่วไป เนื่องจากเป็นภาษาในบทประพันธ์ และ คำสวดภาวนา
     สรรพนามบุรุษที่ 3 พหูพจน์ คือ ผู้ที่พูดถึง สิ่งที่พูดถึง ได้แก่ you, you (คุณ, ท่าน)
     สรรพนามบุรุษที่ 3 เอกพจน์ คือ ผู้ที่พูดถึง สิ่งที่พูดถึง ได้แก่ he, him (เขา, ผู้ชาย) she, her (หล่อน เธอ เขา “ผู้หญิง”) บุรุษที่สามเอกพจน์ it, its (มัน) เป็นบุรุษที่สามเอกพจน์ ใช้สำหรับสัตว์และ สิ่งของ
    สรรพนามบุรุษที่ 3 พหูพจน์ คือ ผู้ที่พูดถึง สิ่งที่พูดถึง ได้แก่ they, them (เขาทั้งหลาย) เป็นบุรุษที่สามพหูพจน์

2. สรรพนามสะท้อน (Reflexive Pronoun)
     คือ สรรพนามที่ใช้เพื่อแสดงการกระทำของประธานที่ส่งผลกระทบกลับมาสู่ตัวประะานเอง หรือ อีกกรณีหนึ่ง คือ ประธานสามารถทำการกระทำนั้นได้เพียงตัวขิองประธานเองเท่านั้น ได้แก่ myself (ฉันเอง), thyself (เจ้าเอง), himself (เขาเอง), herself (เธอเอง), ourselves (เราเอ), yourself (ท่านเอง คนเดียว) yourselves (ท่านเอง “หลายคน”), themselves (เขาทั้งหลายเอง)

ตัวอย่างของสรรพนามสะท้อน


She commits suicide.
เธอกระทำอัตวินิบาตกรรม (เธอฆ่าตัวตาย)

ถ้าจะใช้สรรนามสะท้อน (Reflexive pronoun) ประโยคนี้ก็จะกลายเป็น

She kills herself.
เธอฆ่าตัวเองตาย

3. สรรพนามเน้น (Emphatic Pronoun)
     เหมือนกับข้อ 3 ทุกคำ เป็นการเน้น เช่น ในประโยค I myself have seen the accident. (ข้าพเจ้าเองได้เห็นอุบัติเหตุ) สรรพนามประเภทนี้จะอยู่ติดกับสรรพนมหรือนามที่เป็นประธานเสมอ

4. สรรพนามที่เป็นเจ้าของ (Possessive Pronoun)
     ได้แก่ thine (ของเจ้า, his (ของเขา “ผู้ชาย”), hers (ของเธอ “ผู้หญิง”), its (ของมัน), ours (ของเรา), yours (ของท่าน), theirs (ของเขาทั้งหลาย)

5. ประพันธสรรพนาม (Relative Pronoun)
     ได้แก่ Who (ผู้ ใช้สำหรับคน เมื่อเป็นประธาน), whom (ผู้ ใช้สำหรับคนเมื่อเป็นกรรม), which (ซึ่งหรือสิ่งของซึ่ง ที่ใช้สำหรับสัตว์ และสิ่งของเมื่อเป็นประธานหรือเป็นกรรมก็ได้), whose (ของใคร) ใช้ำสำหรับคนหรือสิ่งที่มีชีวิต), what (สิ่ง ใช้สำหรับสิ่งของ), that (คน สัตว์ หรือสิ่งของ ใช้ได้ทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ) ประพันธสรรพนามเหล่านี้ใช้เชื่อมมุขยประโยค (main clause) กับอนุประโยค (subordinate clause)

6. ปฤจฉาสรรพนาม (Interrogative Pronoun)
     คือ สรรพนามที่แทนนามสำหรับคำถาม ได้แก่ Who, Whom, What, Which, Whoever, Whomever, Whatever, Whichever

7. สรรพนามจำแนก (Distributive Pronoun)
     คือ แยกออกเป็นอย่างๆ ได้แก่ each (ทุก ๆ หรือ แต่ละใช้ได้สำหรับ คน สัตว์, และสิ่งของ), either (หรืออย่างนี้ หรืออย่างนั้น ใช้ได้ทั้ง คน สัตว์ และสิ่งของ), neither (ไม่ใช่อย่างนี้ และ ก็….ใช้ได้ทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ)

8. สรรพนามไม่เจาะจง (Indefinite Pronoun)
     หมายถึง สรรพนามที่ใช้แทนนามได้ทั่วไป มิได้ชี้เฉพาะเจาะจงว่า แทนคนนั้น คนนี้ ได้แก่
All ทั้งหมด
Many หลายๆ
One (คนหนึ่ง คนใด ใช้ได้ทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ) None ไม่มีใครเลย ใช้ได้ทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ)
Someone หรือ Somebody (ผู้หนึ่ง ผู้ใด ใช้ได้เฉพาะคน)
Anyone หรือ Anybody (ผู้หนึ่ง ผู้ใด ใช้สำหรับคนเท่านั้น ในประโยคที่เป็นคำถามหรือปฏิเสธ)
Some (บางคนใช้ได้ทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ)
Any (บางคน ใช้ได้ทั้งคน สัตว์ และสิ่งของในประโยคคำถามหรือปฏิเสธ)
Other (คนอื่น เอกพจน์ ใช้ได้ทั้งคน สัตว์และสิ่งของ)
Others (คนอื่นๆ พหูพจน์ ใช้ได้ทั้งคน สัตว์ และสิ่งของ)